กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/16758
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารภาครัฐแนวใหม่ของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 7 กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Officials'opinions towards new governmental administration in water resources regional office 7,Department of water resources, Ministry of natural resources and environment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษฎา นันทเพชร
เก่ง พุทธอรุณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: การบริหารรัฐกิจ
Humanities and Social Sciences
กรมทรัพยากรน้ำ -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษา เรื่อง “ความคิดเห็นของบุคลากรตอการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ของสํานักงาน ทรัพยากรนําภาค 7 กรมทรัพยากรนํา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ในครั้งนี้เป็น การศึกษาในเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มี่ต่อการบริหาร ภาครัฐแนวใหม ของสํานักงานทรัพยากรนําภาค 7 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากร ที่มีต่อการบริหารภาครัฐแนวใหม่ทั้ง 4 ด้าน จําแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การทํางาน ประสบการณ์ รายได้ต่อเดือน และส่วน/หน่วยงานที่สังกัด โดยศึกษา จากประชากรสํานักงานทรัพยากรนําภาค 7 จํานวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตําแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ รายได้ต่อเดือน และส่วน/ หน่วยงานทีสังกัด ค่าสถิติทีใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (xˉ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ของสํานักงาน ทรัพยากรนําภาค 7 ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยูในระดับเห็นด้วย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สามารถ เรียงลําดับความคิดเห็นต่อการบริหารภาครัฐแนวใหม่จากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปน้อยสุด ได้ดังนี คือ ด้านการมุ่งเน้นต่อผลสัมฤทธิ์ (เน้นผลการปฏิบัติงานมากกว่ากระบวนการทํางาน) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทน ด้านความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถ ตรวจสอบได้ รวมทั่งมีจิตสํานึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชนและสังคม และลําดับ น้อยที่สุดคือ ด้านการมุ่งความเป็นเลิศ สู่องค์กรทีมีขีดสมรรถนะสูง ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของบุคลากรเพศชายมากกว่าเพศหญิง ที่มีอายุอยู่ในช่วง 30 ปีลงมามากกว่า ช่วงอายุอื่น ที่มีสถานภาพหย่าร้างมากกว่าสถานภาพอื่น ที่มีระดับการศึกษาตํ่ากว่า ม. ปลาย มากกว่าระดับการศึกษาอื่น ที่ดํารงตําแหน่งข้าราชการประเภทอํานวยการมากกว่าดํารงตําแหน่งอื่น ที่มีช่วงประสบการณ์ช่วง 1-4 ปี มากกว่าช่วงประสบการณ์อื่น ที่มีรายได้ต่อเดือน ช่วง 10,000-20,000 บาท มากกว่าช่วงรายได้ต่อเดือนอื่นที่สังกัดอยู่ในส่วน / หน่วยงานผู้อํานวยการสํานักงานมากกว่าที่สังกัดส่วน/ หน่วยงานอื่น
รายละเอียด: ปัญหาพิเศษ(รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/16758
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Walai2553-2557

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf800.98 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น