กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7660
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing the orgniztionl commitment of techers under the secondry eductionl service re office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนวิน ทองแพง
สุรัตน์ ไชยชมภู
สุชาพร ประเสริฐชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความผูกพันต่อองค์การ
ครูมัธยมศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบสำรวจรายการ และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) โดยปัจจัยลักษณะงานของครู มีค่าอำนาจจำแนก .29-.83 ค่าความเชื่อมั่น .92 ปัจจัยประสบการณ์ในการทำงานของครู มีค่าอำนาจจำแนก .37-.81 ค่าความเชื่อมั่น .92 และความผูกพันต่อองค์การ ของครู มีค่าอำนาจจำแนก .39-.87 ค่าความเชื่อมั่น .95 และความผูกพันต่อองค์การของครู มีค่าอำนาจจำแนก .49-.84 ค่าความเชื่อมั่น .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยลักษณะงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยประสบการณ์ในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลกับความผูกพันต่อองค์กรของครู มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ ปัจจัยลักษณะงานกับผูกพันต่อองค์กรของครู และปัจจัยประสบการณ์ในการทำงานกับผูกพันต่อองค์กรของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ปัจจัยประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านความคาดหวังที่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงาน (E3) ปัจจัยประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร (E4) ปัจจัยประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานด้านความรู้สึกว่าหน่วยงานเป็นที่พึ่งพิงได้ (E2) ปัจจัยลักษณะงานด้านความสำคัญของงาน (J3) ปัจจัยลักษณะงานด้านความมีอิสระในการทำงาน (J1) และปัจจัยประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญ (E1) ร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์กรของครู มีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 66.10 ดังสมการ Y = .739 + .118 (E3) + .262 (E4) + .192 (E2) + .089 (J3) + .099 (J1) + .074 (E1) Z = .158 (E3) + .319 (E4) + .256 (E2) + .102 (J3) + .110 (J1) + .094 (E1)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7660
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น