กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7327
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เหมาะสมสำหรับกรณีศึกษาข้าวหลามหนองมน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on the methods to ssess the crbon footprint ppropritely for the cse study of Nong-mon sticky rice in bmboo
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิณี ศักดิ์สุนทรศิริ
คุนัญญา ทัดเทียมพร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ข้าวหลาม -- หนองมน (ชลบุรี)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ -- การประเมิน
วัฏจักรคาร์บอน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น จากการเลือกใช้วิธีการเพื่อประเมินปริมาณปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั้งวัฏจักรชีวิตในรูปแบบของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ข้าวหลามหนองมนจาก 3 วิธีการเผา คือ การเผาข้าวหลามแบบลาน การเผาข้าวหลาม ในเตาเผาโดยใช้ก๊าซ LPG และการเผาข้าวหลามในเตาเผาข้าวหลามชีวมวลโดยทำการประเมิน กระบวนการหลักด้วยการวิเคราะห์เส้นทางกระบวนการ (PCA) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประเมินด้วย ฐานขอ้มูลที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ คือ 1) บัญชีฐานข้อมูล Inventory data ของประเทศไทย (PCATGO)2) วิธีวิเคราะห์แบบ Input-Output Analysis (Combined PCA-IOA) และ 3) การประเมินด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SimaPro วิธีการประเมิน IPCC 2007 GWP 100a ซึ่งผลที่ได้จะอยู่ในหน่วยของกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อผลิตภัณฑ์ปริมาณข้าวเหนียว 10 ลิตร (kgCO2eq/ ปริมาณข้าวเหนียว 10 ลิตร) ผลการประเมินพบว่า ปริมาณ CFP ของข้าวหลามหนองมน ด้วยการเผาข้าวหลามในเตาเผาก๊าซ LPG โดยใช้การประเมินแบบ PCA-TGO มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 184.88 kgCO2eq/ปริมาณข้าวเหนียว 10 ลิตรและปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของข้าวหลามหนองมน ด้วยการเผาข้าวหลามในเตาเผาข้าวหลามชีวมวลโดยใช้การประเมินแบบ SimaPro วิธีการประเมิน IPCC 2007 GWP 100a มีค่าเท่ากับ 38.32 kgCO2eq/ ปริมาณข้าวเหนียว 10 ลิตร ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด โดยสิ่งที่ทำให้ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ค่าที่แตกต่างกันมาจากแหล่งที่มาของฐานข้อ มูลที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลจากรูปแบบการประเมินต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและแม่นยำของผลการประเมิน อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์มากกว่าการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลของรูปแบบการประเมินใด ประเมินหนึ่งมาใช้ในการประเมิน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7327
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น