Abstract:
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น จากการเลือกใช้วิธีการเพื่อประเมินปริมาณปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั้งวัฏจักรชีวิตในรูปแบบของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ข้าวหลามหนองมนจาก 3 วิธีการเผา คือ การเผาข้าวหลามแบบลาน การเผาข้าวหลาม ในเตาเผาโดยใช้ก๊าซ LPG และการเผาข้าวหลามในเตาเผาข้าวหลามชีวมวลโดยทำการประเมิน กระบวนการหลักด้วยการวิเคราะห์เส้นทางกระบวนการ (PCA) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประเมินด้วย ฐานขอ้มูลที่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ คือ 1) บัญชีฐานข้อมูล Inventory data ของประเทศไทย (PCATGO)2) วิธีวิเคราะห์แบบ Input-Output Analysis (Combined PCA-IOA) และ 3) การประเมินด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SimaPro วิธีการประเมิน IPCC 2007 GWP 100a ซึ่งผลที่ได้จะอยู่ในหน่วยของกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อผลิตภัณฑ์ปริมาณข้าวเหนียว 10 ลิตร (kgCO2eq/ ปริมาณข้าวเหนียว 10 ลิตร) ผลการประเมินพบว่า ปริมาณ CFP ของข้าวหลามหนองมน ด้วยการเผาข้าวหลามในเตาเผาก๊าซ LPG โดยใช้การประเมินแบบ PCA-TGO มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 184.88 kgCO2eq/ปริมาณข้าวเหนียว 10 ลิตรและปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของข้าวหลามหนองมน ด้วยการเผาข้าวหลามในเตาเผาข้าวหลามชีวมวลโดยใช้การประเมินแบบ SimaPro วิธีการประเมิน IPCC 2007 GWP 100a มีค่าเท่ากับ 38.32 kgCO2eq/ ปริมาณข้าวเหนียว 10 ลิตร ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด โดยสิ่งที่ทำให้ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ค่าที่แตกต่างกันมาจากแหล่งที่มาของฐานข้อ มูลที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลจากรูปแบบการประเมินต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและแม่นยำของผลการประเมิน อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์มากกว่าการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลของรูปแบบการประเมินใด ประเมินหนึ่งมาใช้ในการประเมิน