กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7296
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนด้วยการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of creer choice selfefficcy of students using ssimiltive integrtion individul counseling
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประชา อินัง
เพ็ญนภา กุลนภาดล
อัจฉรา อินโต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
อาชีพ -- การตัดสินใจ
นักเรียน -- การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล
จิตวิทยาการปรึกษา
การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนขององค์ประกอบเชิงยืนยันของการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อศึกษาผลของการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในภาคกลาง แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรกที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพ จำนวน 1,200 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้วิจัยนำคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพมาจัดเรียงจากคะแนนน้อยไปหามาก และสอบถามความสมัครใจ โดยพิจารณาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎี และเทคนิค ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถทางการเรียน ความสนใจในอาชีพ การคาดหวังผลลัพธ์ทางอาชีพ เป้าหมายทางอาชีพ การสนับสนุนจากครอบครัว และความสามารถในการจัดการปัญหามีค่า ความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และพบว่าการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาในภาคกลาง อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง-มาก มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.20-3.63 2. การรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วม การปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค หลังการทดลองและติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อน การทดลอง แสดงว่าการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีผลทำให้การรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาสูงขึ้น
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7296
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น