กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7296
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorประชา อินัง
dc.contributor.advisorเพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.authorอัจฉรา อินโต
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:45:35Z
dc.date.available2023-05-12T03:45:35Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7296
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนขององค์ประกอบเชิงยืนยันของการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อศึกษาผลของการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในภาคกลาง แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรกที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบของการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพ จำนวน 1,200 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้วิจัยนำคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพมาจัดเรียงจากคะแนนน้อยไปหามาก และสอบถามความสมัครใจ โดยพิจารณาคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือ กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎี และเทคนิค ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษา พบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถทางการเรียน ความสนใจในอาชีพ การคาดหวังผลลัพธ์ทางอาชีพ เป้าหมายทางอาชีพ การสนับสนุนจากครอบครัว และความสามารถในการจัดการปัญหามีค่า ความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และพบว่าการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาในภาคกลาง อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง-มาก มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.20-3.63 2. การรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วม การปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค หลังการทดลองและติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อน การทดลอง แสดงว่าการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีผลทำให้การรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาสูงขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subjectอาชีพ -- การตัดสินใจ
dc.subjectนักเรียน -- การให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล
dc.subjectจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subjectการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล
dc.titleการพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการเลือกอาชีพของนักเรียนด้วยการปรึกษารายบุคคลเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค
dc.title.alternativeThe development of creer choice selfefficcy of students using ssimiltive integrtion individul counseling
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to examine confirmatory factor and the consistency of the empirical career choice self-efficacy with empirical data, and 2) to study the effect of assimilative integration individual counseling for developing career choice self-efficacy. The samples of this study were students who are studying in grade 9 level at the secondary education schools under the Office of the Basic Education Commission, the Ministry of Education in central region. The sample were divided into two groups. The first group was 1,200 grade 9 students who were used for studying factors of career choice self-efficacy. The second group was grade 9 students in Suphanburi province. The scores on career choice self-efficacy were ranked from low to high. The sample was asked for his/ her voluntariness to participate in this study. Based on inclusion criteria, the researcher selected 28 individuals as the samples of this study. The samples were assigned in to the experimental group and the control group. The experiment group participated in an assimilative integration individual counseling while the control group did not receive the integrative individual counseling. The research results were as follows: 1. The confirmatory factor analysis confirmed that the career choice self-efficacy model could be characterized into six factors: Academic self-efficacy, career interest, outcome expectations, goals, Family Support, and coping. The model had a goodness-of-fit with the empirical data with high loading with a significance level of .05 it was found that the career choice self-efficacy of grade 9 students in central region was at the moderate level mean score was (X = 3.47). The average was between 3.20 - 3.63. 2. The career choice scores after experiment and follow-up were higher than before experiment. The findings showed that the assimilative integration individual counseling could enhance career choice self-efficacy of secondary education students.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น