กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7288
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พุทธศักราช 2534 ศึกษากรณีมาตรา 32 วรรคสอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legl problemtic on the enforcement of ct on mesures for the suppression of offenders in n offence relting to nrcotics, B.E. 2534 :b cse study of rticle 32 pr 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัชนี แตงอ่อน ณรงพจสธร การุณย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การควบคุมยาเสพติด มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา ยาเสพติด -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการริบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พุทธศักราช 2534 ในกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีหรือผู้ต้องหาหรือจำเลยถึงแก่ความตายโดยศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเพื่อรองรับการริบทรัพย์สินในคดีที่ผู้ต้องหาหลบหนีหรือตาย และแนวทางการปรับปรุงกฎหมายของทรัพย์สินที่ดำเนินการยึดทรัพย์สินตามมาตรา 32 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีความสอดคล้องรองรับการพัฒนานำทางกฎหมาย ขบวนการค้ายาเสพติด และหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้จะได้ศึกษาเปรียบเทียบกับแนวความคิด ทฤษฎี และกฎหมายการยึดทรัพย์สินและการฟอกเงินทั้งในและต่างประเทศ ผลการศึกษาปัญหากรณีการที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีการจับกุมมีการจำหน่ายคดีชั่วคราวหรือถึงแก่ความตายที่คดีเป็นการระงับ แต่ภายหลังมีการพิสูจน์ฐานความผิดในคดียาเสพติดว่าเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่รวมถึงการริบทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของซึ่งไม่รู้เห็นเป็นใจแต่ไม่ได้เข้ามาโตแย้งสิทธิภายในกรอบของกฎหมายหากภายหลังจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ศาลพิพากษาในคดีอาญายกฟ้องถือเป็นการปิดโอกาสในการโต้แย้งสิทธิซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายและแนวทางของต่างประเทศควรกำ หนดขั้นตอน ระยะเวลาการประกาศหนังสือพิมพ์ในการโต้แย้งสิทธิให้ชัดเจน และผ่านกระบวนการทางศาลเพื่อเป็นการถ่วงดุลทางกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางในการศึกษาปรับปรุงกฎหมายที่บังคับใช้ต่อไป ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า การที่นำมาตรา 32 วรรคสอง เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล จะเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ซึ่งก็จะนำมาซึ่งการยกเลิกมาตรา 32 วรรคสองและมีแต่คดีที่ผ่านการพิจารณาของศาลตามมาตรา 32 วรรคแรกในการปรับปรุงกฎหมายต่อไป |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (น.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7288 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น