Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการริบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พุทธศักราช 2534 ในกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีหรือผู้ต้องหาหรือจำเลยถึงแก่ความตายโดยศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเพื่อรองรับการริบทรัพย์สินในคดีที่ผู้ต้องหาหลบหนีหรือตาย และแนวทางการปรับปรุงกฎหมายของทรัพย์สินที่ดำเนินการยึดทรัพย์สินตามมาตรา 32 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มีความสอดคล้องรองรับการพัฒนานำทางกฎหมาย ขบวนการค้ายาเสพติด และหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้จะได้ศึกษาเปรียบเทียบกับแนวความคิด ทฤษฎี และกฎหมายการยึดทรัพย์สินและการฟอกเงินทั้งในและต่างประเทศ ผลการศึกษาปัญหากรณีการที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีการจับกุมมีการจำหน่ายคดีชั่วคราวหรือถึงแก่ความตายที่คดีเป็นการระงับ แต่ภายหลังมีการพิสูจน์ฐานความผิดในคดียาเสพติดว่าเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่รวมถึงการริบทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของซึ่งไม่รู้เห็นเป็นใจแต่ไม่ได้เข้ามาโตแย้งสิทธิภายในกรอบของกฎหมายหากภายหลังจับกุมตัวผู้ต้องหาได้ศาลพิพากษาในคดีอาญายกฟ้องถือเป็นการปิดโอกาสในการโต้แย้งสิทธิซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายและแนวทางของต่างประเทศควรกำ หนดขั้นตอน ระยะเวลาการประกาศหนังสือพิมพ์ในการโต้แย้งสิทธิให้ชัดเจน และผ่านกระบวนการทางศาลเพื่อเป็นการถ่วงดุลทางกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางในการศึกษาปรับปรุงกฎหมายที่บังคับใช้ต่อไป ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า การที่นำมาตรา 32 วรรคสอง เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล จะเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ซึ่งก็จะนำมาซึ่งการยกเลิกมาตรา 32 วรรคสองและมีแต่คดีที่ผ่านการพิจารณาของศาลตามมาตรา 32 วรรคแรกในการปรับปรุงกฎหมายต่อไป