กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7285
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจในการยึดทรัพย์สินมาเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legl problems concerning the power to seize property for investigtion under the mesure for suppressing nrcotic offenders ct, B.E. 2534 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัชนี แตงอ่อน เชาวลิต ชูเลื่อน มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การควบคุมยาเสพติด มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 การยึดทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ กฎหมายยาเสพติด -- ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทําการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาความสําคัญและปัญหาเกี่ยว อํานาจทางกฎหมายในการดําเนินการยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อจะนํามาสู่กระบวนการในการตรวจสอบทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 โดยศึกษาความหมายของยาเสพติด การริบ การยึด อายัด มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการยึดทรัพย์สินตลอดจนขั้นตอนกระบวนการในการดําเนินการตามกฎหมายทั้งของไทยและของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับอํานาจในการยึดอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้อํานาจในการยึดอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดของไทย ปรากฏว่าไม่มีบทกฎหมายใดเลยที่จะให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ทําการจับกุมผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือไม่มีอํานาจใดเลยที่จะให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้ทําการยึดทรัพย์สินไว้ก่อน คณะกรรมการ หรือเลขาธิการ ป.ป.ส.มีคําสั่งให้ยึดอายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว ในอันที่จะยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อจะนําเข้าสู่กระบวนการในการตรวจสอบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ตรงกันข้ามกับของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศสิงคโปร์ หรือเขตปกครองพิเศษของประเทศจีน (ฮ่องกง) ได้มีการกําหนดหรือบัญญัติเป็นกฎหมายในการที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามยาเสพติดสามารถที่จะดําเนินการยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ไว้อย่างชัดเจน หรือหากเทียบเคียงกับกฎหมายอื่นอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จะเห็นได้ว่าของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ หรือแม้แต่ประเทศออสเตรเลีย ก็ได้มีการกําหนดรูปแบบวิธีการในการยึดทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือในความผิดมูลฐานอื่น ๆ ไว้อย่างชัดเจน จากปัญหา และเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้ศึกษาเห็นว่าเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามยาเสพติด หรือ ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการป้องกันการใช้ดุลพินิจหรือการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่อย่างเกินเลย จึงเห็นควรปรับและแก้ไขบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ให้มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (น.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7285 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 964.71 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น