Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทําการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาความสําคัญและปัญหาเกี่ยว อํานาจทางกฎหมายในการดําเนินการยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อจะนํามาสู่กระบวนการในการตรวจสอบทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 โดยศึกษาความหมายของยาเสพติด การริบ การยึด อายัด มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการยึดทรัพย์สินตลอดจนขั้นตอนกระบวนการในการดําเนินการตามกฎหมายทั้งของไทยและของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับอํานาจในการยึดอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้อํานาจในการยึดอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดของไทย ปรากฏว่าไม่มีบทกฎหมายใดเลยที่จะให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ทําการจับกุมผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือไม่มีอํานาจใดเลยที่จะให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้ทําการยึดทรัพย์สินไว้ก่อน คณะกรรมการ หรือเลขาธิการ ป.ป.ส.มีคําสั่งให้ยึดอายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว ในอันที่จะยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อจะนําเข้าสู่กระบวนการในการตรวจสอบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ตรงกันข้ามกับของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศสิงคโปร์ หรือเขตปกครองพิเศษของประเทศจีน (ฮ่องกง) ได้มีการกําหนดหรือบัญญัติเป็นกฎหมายในการที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามยาเสพติดสามารถที่จะดําเนินการยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ไว้อย่างชัดเจน หรือหากเทียบเคียงกับกฎหมายอื่นอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จะเห็นได้ว่าของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ หรือแม้แต่ประเทศออสเตรเลีย ก็ได้มีการกําหนดรูปแบบวิธีการในการยึดทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือในความผิดมูลฐานอื่น ๆ ไว้อย่างชัดเจน จากปัญหา และเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้ศึกษาเห็นว่าเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามยาเสพติด หรือ ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการป้องกันการใช้ดุลพินิจหรือการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่อย่างเกินเลย จึงเห็นควรปรับและแก้ไขบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ให้มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น