กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7285
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัชนี แตงอ่อน | |
dc.contributor.author | เชาวลิต ชูเลื่อน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:42:59Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:42:59Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7285 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (น.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะทําการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาความสําคัญและปัญหาเกี่ยว อํานาจทางกฎหมายในการดําเนินการยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อจะนํามาสู่กระบวนการในการตรวจสอบทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 โดยศึกษาความหมายของยาเสพติด การริบ การยึด อายัด มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการยึดทรัพย์สินตลอดจนขั้นตอนกระบวนการในการดําเนินการตามกฎหมายทั้งของไทยและของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับอํานาจในการยึดอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้อํานาจในการยึดอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดของไทย ปรากฏว่าไม่มีบทกฎหมายใดเลยที่จะให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ทําการจับกุมผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือไม่มีอํานาจใดเลยที่จะให้อํานาจแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้ทําการยึดทรัพย์สินไว้ก่อน คณะกรรมการ หรือเลขาธิการ ป.ป.ส.มีคําสั่งให้ยึดอายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว ในอันที่จะยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อจะนําเข้าสู่กระบวนการในการตรวจสอบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติในการปราบปรามผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ตรงกันข้ามกับของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือประเทศสิงคโปร์ หรือเขตปกครองพิเศษของประเทศจีน (ฮ่องกง) ได้มีการกําหนดหรือบัญญัติเป็นกฎหมายในการที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามยาเสพติดสามารถที่จะดําเนินการยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ไว้อย่างชัดเจน หรือหากเทียบเคียงกับกฎหมายอื่นอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จะเห็นได้ว่าของต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ หรือแม้แต่ประเทศออสเตรเลีย ก็ได้มีการกําหนดรูปแบบวิธีการในการยึดทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือในความผิดมูลฐานอื่น ๆ ไว้อย่างชัดเจน จากปัญหา และเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้ศึกษาเห็นว่าเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามยาเสพติด หรือ ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการป้องกันการใช้ดุลพินิจหรือการใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่อย่างเกินเลย จึงเห็นควรปรับและแก้ไขบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ให้มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การควบคุมยาเสพติด | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา | |
dc.subject | พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 | |
dc.subject | การยึดทรัพย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | |
dc.subject | กฎหมายยาเสพติด -- ไทย | |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจในการยึดทรัพย์สินมาเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 | |
dc.title.alternative | Legl problems concerning the power to seize property for investigtion under the mesure for suppressing nrcotic offenders ct, B.E. 2534 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This individual study aims to investigate the backgrounds, significance, and problems of the legislative power on the asset forfeiture action of the defenders in an offence relating to narcotics to proceed the asset inspection procedure under Act on measure for the suppression of defenders in an offence relating to narcotics, B.E. 2534. The researcher studied the meanings of narcotics, confiscation, and forfeiture, as well as the legal measures used for forfeiture of assets and the legal actions of Thailand and foreign countries in order to pave the way for amending, improving, and developing the law relating to the power of forfeiture of assets pertaining to the offence of narcotics of Thailand to be more effective. According to the findings regarding to the power of forfeiture of assets connected with the commission of an offence relating to narcotics of Thailand, there is not any law allowing an arresting officer of offender committing an offence relating to narcotics, and there is not any power given to an officer to temporarily forfeit the assets before being appointed by the secretary of Narcotics Control Board (NCB), to forfeit the assets of offender committing an offence relating to narcotics to proceed the asset inspection procedure under Act on measure for the suppression of defenders in an offence relating to narcotics, B.E. 2534. This is opposite to other countries, such as U.S.A., Singapore, and Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China where the laws allowing state officers responsible for the suppression of narcotics to forfeit the assets of defenders committing an offence relating to narcotics have been obviously promulgated. Comparing with other laws such as the law of Anti-Money Laundering Act in U.S.A., Singapore and Australia, the conformation and approach of forfeiture of assets pertaining to an offence relating to narcotics or other offences has been explicitly regulated. According to the problems and reasons stated above, to prevent disadvantages of an operating officer of suppression of narcotics and people influenced by the use of power of state officer and to prevent the use of immoderate power and discretion of an officer, it is appropriate to make some revisions to the law under Act of prevention and suppression of narcotics, B. E. 2519 to be more comprehensive and effective | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา | |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 964.71 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น