กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6943
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามในแบบวัดพหุมิติให้คะแนนหลายค่าด้วยวิธีโพลีโตมัสซิปเทสท์ วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุและวิธีการทดสอบวอลด์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Compring performnce of differentil item function detection for multidimensionl polytomous scored items using poly-sibbtest, multi group confirmtory fctor nlysis nd wld test
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพรัตน์ วงษ์นาม
สุรีพร อนุศาสนนันท์
ณัฐพร ภักดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การสอบ -- การให้คะแนน
การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การวัดผลทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามในแบบวัดพหุมิติที่ให้คะแนนหลายค่า ด้วยวิธีโพลีโตมัสซิปเทสท์ วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุ และวิธีการทดสอบวอลด์ จากอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลจำลองโดยจำลองภายใต้โมเดลเกรดเรสพอน พหุมิติ ซึ่งแต่ละข้อคำถามจะมีรายการตอบ 5 รายการ โดยให้คะแนนเป็น 1, 2, 3, 4 หรือ 5 คะแนน ข้อมูลดังกล่าวจำลองผลการตอบข้อสอบภายใต้ปัจจัยที่แปรเปลี่ยน 4 ปัจจัย คือ ความยาวของแบบวัด 2 ขนาด ขนาดของการทำหน้าที่ต่างกัน 3 ระดับ สัดส่วนข้อคำถามที่ทำหน้าที่ต่างกัน 2 ขนาด และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 5 รูปแบบ รวมข้อมูลทั้งหมดที่ต้องจัดกระทำเพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบจำนวน 60 เงื่อนไข (2x3x2x5) ในแต่ละเงื่อนไขวนซ้ำ 100 รอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของ ข้อคำถามในแบบวัดพหุมิติให้คะแนนหลายค่า วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบกลุ่มพหุ และวิธีการทดสอบวอลด์ สามารถควบคุมอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ดีกว่าวิธีโพลีโตมัสซิปเทสท์ โดยวิธีวอลด์มีค่าอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ต่ำกว่าและควบคุมได้ดีกว่าวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบกลุ่มพหุ เมื่อความยาวของแบบวัดเพิ่มขึ้น 2. อำนาจการทดสอบในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามในแบบวัดพหุมิติให้คะแนนหลายค่า วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบกลุ่มพหุมีอำนาจการทดสอบสูงกว่าวิธีการทดสอบวอลด์ และวิธีโพลีโตมัสซิปเทสท์ ทั้งสามวิธี มีอำนาจการทดสอบสูง และใกล้เคียงทุกเงื่อนไข 3. โดยภาพรวมวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบกลุ่มพหุมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามดีกว่าวิธีวอดล์ เมื่อความยาวของแบบวัดมากขึ้น วิธีวอดล์ มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันดีกว่าวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบกลุ่มพหุ โดยทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันดีกว่าวิธีโพลีโตมัสซิปเทสท์ ในทุกเงื่อนไข
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6943
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น