กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6751
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอวังน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems nd guided development for cdemic dministrtion of primry schools in wng nm yen district under skeo primry eductionl service re office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรัตน์ ไชยชมภู
พรรณนิภา ปินตาติ๊บ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โรงเรียนประถมศึกษา (เขตการศึกษา 1)
วิชาการ -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอวังน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในอำเภอวังน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระแก้ว เขต 1 จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามมาตรส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ได้ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .36-.94 โดยมีค่าความเชื่อมั่น .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยใช้วิธีการทดสอบแบบ (Scheffe) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอวังน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 อยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอวังน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการสอน และขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอวังน้ำเย็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1 ข้อที่ควรได้รับการพัฒนา เป็นอันดับแรกแต่ละด้าน ได้แก่ ควรมีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับครู ควรให้ขวัญกำลังใจ ยกย่องชมเชยครูที่ประสบความสำเร็จส่งเสริมให้ครูวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ผู้บริหาร และครูควรให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อพัฒนา ควรจัดให้มีการประเมินผลการพัฒนาการใช้สื่อ จัดให้มีการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรดำเนินการประสานความร่วมมือกับเขตพื้นที่การศึกษาในการนิเทศการเรียนการสอน และควรประเมินกระบวนการในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาและปรับปรุงการจัดการศึกษาของโรงเรียน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6751
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น