Abstract:
รานาเกลือ 64 สายพันธุ์ จากจำนวน 150 สายพันธุ์ (42.7%) สามารถยับยั้งราก่อโรคแอนแทรกโนส Colletotrichum spp. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง C. gloeos porioides DOAC 0782 ด้วยปฏิสัมพันธ์แบบ antibiosis บนอาหาร PDA/dw และ/หรือ PDA/SW30 ppt ในจำนวนนี้รา 50 สายพันธุ์ จากจำนวน 62 สายพันธุ์ ที่นำมาทดสอบ (80.6%) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งราก่อโรคพืช อย่างน้อย 1 ชนิด มากกว่าร้อยละ 35 (%IE>35) ทั้งในสภาวะการเลี้ยงที่มีความเค็มหรือไม่มีความเค็ม และรา 44 สายพันธุ์ (71.0%) ยับยั้งได้ทั้ง C. capsici DOAC 1511 และ C. gloeosporioides DOAC 0782 เมื่อเลี้ยงร่วมกัน 5 วัน บนอาหาร PDA/SW30 ppt รานาเกลือรหัส SSPB4225 ให้ผลยับยั้ง C. capsici DOAC 1511 และ C. gloeosporioides DOAC 0782 ด้วยค่า %IE สูงสุดเท่ากับ 75.0 และ 76.0 ตามลำดับ จากการทดสอบด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสารสกัดหยาบเอธิลอะซิเตท 90 สาร ที่สกัดจากอาหาร PDA/dw และ PDA/SW30 ppt ที่ผ่านการเลี้ยงราที่มี %IE ≥35 รวม 45 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่ยับยั้งราก่อโรคพืชได้ สารสกัด 86.7% และ 81.1% ยับยั้ง C. gloeosporioides DOAC 0782 และ C. capsici DOAC 1511 ได้ตามลำดับ สารสกัด 10 สาร แสดงฤทธิ์ยับยั้งสูงสุด มีค่า %IE >70 สารสกัด SSPB3124 และ SSPB3208 ที่สกัดจาก PDB/SW30 ppt แสดงฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคพืชสูงสุด ค่า MIC ของสารสกัดนี้เมื่อทดสอบกับราก่อโรคพืช C. gloeosporioides DOAC 0782 และ C. capsici DOAC 1511 เป็นเวลา 3 วัน มีค่าระหว่าง 256-512 μg/ml การจัดจำแนกรานาเกลือโดยใช้ข้อมูลทางสัณฐานวิทยาและการเปรียบเทียบลำดับเบสบนสาย DNA พบว่ารา SSPB3124 และ รา SSPB3208 น่าจะเป็น Aspergillus สปีชีส์เดียวกัน แต่ยังไม่สามารถระบุ สปีชีส์ได้แน่ชัด และอาจเป็นสปีชีส์ใหม่