DSpace Repository

การศึกษาฤทธิ์ต้านราก่อโรคพืชของราที่แยกได้จากนาเกลือ

Show simple item record

dc.contributor.author อภิรดี ปิลันธนภาคย์
dc.contributor.author สุดารัตน์ สวนจิตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2023-07-10T04:07:30Z
dc.date.available 2023-07-10T04:07:30Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9272
dc.description ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 th_TH
dc.description.abstract รานาเกลือ 64 สายพันธุ์ จากจำนวน 150 สายพันธุ์ (42.7%) สามารถยับยั้งราก่อโรคแอนแทรกโนส Colletotrichum spp. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง C. gloeos porioides DOAC 0782 ด้วยปฏิสัมพันธ์แบบ antibiosis บนอาหาร PDA/dw และ/หรือ PDA/SW30 ppt ในจำนวนนี้รา 50 สายพันธุ์ จากจำนวน 62 สายพันธุ์ ที่นำมาทดสอบ (80.6%) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งราก่อโรคพืช อย่างน้อย 1 ชนิด มากกว่าร้อยละ 35 (%IE>35) ทั้งในสภาวะการเลี้ยงที่มีความเค็มหรือไม่มีความเค็ม และรา 44 สายพันธุ์ (71.0%) ยับยั้งได้ทั้ง C. capsici DOAC 1511 และ C. gloeosporioides DOAC 0782 เมื่อเลี้ยงร่วมกัน 5 วัน บนอาหาร PDA/SW30 ppt รานาเกลือรหัส SSPB4225 ให้ผลยับยั้ง C. capsici DOAC 1511 และ C. gloeosporioides DOAC 0782 ด้วยค่า %IE สูงสุดเท่ากับ 75.0 และ 76.0 ตามลำดับ จากการทดสอบด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสารสกัดหยาบเอธิลอะซิเตท 90 สาร ที่สกัดจากอาหาร PDA/dw และ PDA/SW30 ppt ที่ผ่านการเลี้ยงราที่มี %IE ≥35 รวม 45 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่ยับยั้งราก่อโรคพืชได้ สารสกัด 86.7% และ 81.1% ยับยั้ง C. gloeosporioides DOAC 0782 และ C. capsici DOAC 1511 ได้ตามลำดับ สารสกัด 10 สาร แสดงฤทธิ์ยับยั้งสูงสุด มีค่า %IE >70 สารสกัด SSPB3124 และ SSPB3208 ที่สกัดจาก PDB/SW30 ppt แสดงฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคพืชสูงสุด ค่า MIC ของสารสกัดนี้เมื่อทดสอบกับราก่อโรคพืช C. gloeosporioides DOAC 0782 และ C. capsici DOAC 1511 เป็นเวลา 3 วัน มีค่าระหว่าง 256-512 μg/ml การจัดจำแนกรานาเกลือโดยใช้ข้อมูลทางสัณฐานวิทยาและการเปรียบเทียบลำดับเบสบนสาย DNA พบว่ารา SSPB3124 และ รา SSPB3208 น่าจะเป็น Aspergillus สปีชีส์เดียวกัน แต่ยังไม่สามารถระบุ สปีชีส์ได้แน่ชัด และอาจเป็นสปีชีส์ใหม่ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เชื้อรา th_TH
dc.subject สารต้านจุลชีพ th_TH
dc.title การศึกษาฤทธิ์ต้านราก่อโรคพืชของราที่แยกได้จากนาเกลือ th_TH
dc.title.alternative Study of anti-plant pathogenic fungi of fungi isolated from solar saltern land en
dc.type Research th_TH
dc.year 2560 th_TH
dc.description.abstractalternative Sixty four out of 150 solar saltern fungi (42.7%) exhibited antibiosis interaction against anthracnose causing Colletotrichum spp., especially against C. gloeosporioides DOAC 0782 on both or either PDA/dw or PDA/SW30 ppt. Among these fungi, f ifty out of 62 fungi tested (80.6%) inhibited at least one Colletotrichum sp. with %IE >35 either on PDA/dw or PDA/SW30 ppt. After 5 days incubation, 44 fungi (71.0%) exhibited inhibitory activity against both C. capsici DOAC 1511 and C. gloeosporioides DOAC 0782 on PDA/SW30 ppt. The highest activity against C. capsici DOAC 1511 and C. gloeosporioides DOAC 0782 were obtained from fungus SSPB4225, with %IE 75.0 and 76.0, respectively. Disc diffusion test of 90 extracts from both PDA/dw and PDA/SW30 ppt culture filtrates of 45 fungi with %IE ≥ 35 revealed 86.7% and 81.1% inhibition against C. gloeosporioides DOAC 0782 and C. capsici DOAC 1511, respectively. Ten extracts exhibited strong activity with %IE >70. Extracts from PDB/SW30 ppt filtrate of SSPB 3124 and SSPB 3028 fungi exhibited the highest inhibitory activity. The MIC against C. gloeosporioides DOAC 0782 and C. capsici DOAC 1511 were 256-512 μg/ml. Morphological identification and DNA sequence comparison indicated that SSPB3124 and SSPB3208 had tendency to be the same Aspergillus species and may be new to Sciences. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account