กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9982
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหนักเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดในระยะตั้งครรภ์ของสตรีหลังคลอด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting postprtum women’s ntentl behvior relted to preventing pollution from hevy industry in the mptphut pollution control zone
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณทนา ศุภสีมานนท์
วรรณี เดียวอิศเรศ
ปวีณา ติวาสิริพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การป้องกันมลพิษ
มลพิษ
ครรภ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหนัก มีผลเสียต่อสุขภาพทั้งสตรีตั้งครรภ์และทารกในครร์สตรีตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมหนักจึงควรมีพฤติกรรมการป้องกันมลพิษที่เหมาะสม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในระยะตั้งครรภ์เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหนัก ในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง และศึกษาผลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมดังกล่าวกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีพักฟื้นหลังคลอดที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระยอง ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมการศึกษาได้มาด้วยการเลือกแบบสะดวก จำนวน 130 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับมลพิษ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันมลพิษ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหนักวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน (Standard multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการป้องกันมลพิษฯ ในระยะตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (Possible range = 12-49, M = 43.15, SD = 3.72) จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานพบว่า อาชีพ ระยะเวลาที่อาศัยในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด การรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับมลพิษ การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันมลพิษ และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการป้องกันมลพิษในระยะตั้งครรภ์ได้ 31.7% (R 2 = .317, F8,121= 7.01, p< .001) อย่างไรก็ตามมีปัจจัยเพียง 3 ปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันมลพิษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เรียงลำดับตามค่าอิทธิพลของปัจจัยต่อพฤติกรรมการป้องกันมลพิษจากมากไปน้อย คือ อาชีพเป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม (Beta = 0.30, p= .01) การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันมลพิษ (Beta = -0.23, p= .01) และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษ (Beta = 0.20, p= .02) จากผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลแผนกฝากครรภ์ควรประเมินสตรีตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในเขตควบคุมมลพิษจากอุตสาหกรรมหนักเกี่ยวกับอาชีพ การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันมลพิษฯ และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการป้องกันมลพิษในระยะตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9982
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60910034.pdf2.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น