กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9982
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณทนา ศุภสีมานนท์
dc.contributor.advisorวรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.authorปวีณา ติวาสิริพงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:43:50Z
dc.date.available2023-09-18T07:43:50Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9982
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหนัก มีผลเสียต่อสุขภาพทั้งสตรีตั้งครรภ์และทารกในครร์สตรีตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรมหนักจึงควรมีพฤติกรรมการป้องกันมลพิษที่เหมาะสม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในระยะตั้งครรภ์เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหนัก ในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง และศึกษาผลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมดังกล่าวกลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีพักฟื้นหลังคลอดที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระยอง ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าร่วมการศึกษาได้มาด้วยการเลือกแบบสะดวก จำนวน 130 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับมลพิษ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันมลพิษ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหนักวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน (Standard multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการป้องกันมลพิษฯ ในระยะตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (Possible range = 12-49, M = 43.15, SD = 3.72) จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานพบว่า อาชีพ ระยะเวลาที่อาศัยในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด การรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับมลพิษ การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันมลพิษ และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการป้องกันมลพิษในระยะตั้งครรภ์ได้ 31.7% (R 2 = .317, F8,121= 7.01, p< .001) อย่างไรก็ตามมีปัจจัยเพียง 3 ปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันมลพิษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เรียงลำดับตามค่าอิทธิพลของปัจจัยต่อพฤติกรรมการป้องกันมลพิษจากมากไปน้อย คือ อาชีพเป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม (Beta = 0.30, p= .01) การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันมลพิษ (Beta = -0.23, p= .01) และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษ (Beta = 0.20, p= .02) จากผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลแผนกฝากครรภ์ควรประเมินสตรีตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในเขตควบคุมมลพิษจากอุตสาหกรรมหนักเกี่ยวกับอาชีพ การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันมลพิษฯ และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมลพิษ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการป้องกันมลพิษในระยะตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการป้องกันมลพิษ
dc.subjectมลพิษ
dc.subjectครรภ์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหนักเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดในระยะตั้งครรภ์ของสตรีหลังคลอด
dc.title.alternativeFctors ffecting postprtum women’s ntentl behvior relted to preventing pollution from hevy industry in the mptphut pollution control zone
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativePollution from heavy industry adversely affects the health of pregnant women and their fetuses. Thus pregnant women living in a pollution control zone should practice appropriate preventive behavior. The goals of this correlational predictive study were to examine antenatal behavior related to preventing pollution from heavy industry in the Maptaphut pollution control zone, Rayong province, and to investigate the effects of selected factors on that behavior. Participants were 130 mothers, recovering after giving birth, in the postpartum ward of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Memorial Hospital Siam Grand Palace, Rayong. They met inclusion criteria and were selected by convenience sampling. Data were collected by a demographic questionnaire and record, perceived susceptibility to pollution questionnaire, perceived barriers to preventing pollution questionnaire, knowledge about preventive behavior questionnaire, and antenatal behavior related to preventing pollution from heavy industry questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and standard multiple regression analysis. Result showed that pregnant women had appropriate overall levels of antenatal behavior related to preventing pollution from heavy industry (Possible range = 12-49, M = 43.15, SD = 3.72). Standard multiple regression analysis showed that occupation, duration of living in the Maptaphut pollution control zone, perceived susceptibility to pollution, perceived barriers to preventing pollution, and knowledge about preventive behavior accounted for 31.7% of the variance in preventive behavior (R 2 = .317, F8,121= 7.01, p < .001). However, only three factors significantly influenced preventive behavior. Those were, in order from most to least influential on preventive behavior, having occupations as heavy industrial workers (Beta = 0.30, p= .01), perceived barriers to preventive behavior (Beta = -0.23, p= .01), and knowledge about preventive behavior (Beta = 0.20, p= .02). The findings suggest that prenatal care nurses should assess pregnant women who live in heavy industry pollution control zones about their occupation, perceived barriers to preventive behavior, and knowledge about preventive behavior. Nurses could use this information to promote appropriate antenatal behavior to prevent pollution from heavy industry.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการผดุงครรภ์
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60910034.pdf2.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น