กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9955
ชื่อเรื่อง: การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการสรรหาอธิการบดีตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Solving conflicts in recruitment of the university president in ccordnce with good governnce principles: cse studies of ksetsrt university, burph university nd nresun university
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
ทัดฐ์สพล นนท์ทวีกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: อธิการบดี
การสรรหาบุคลากร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
ธรรมรัฐ
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการมหาวิทยาลัยของรัฐจากส่วนราชการสุ่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับและแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2. ศึกษากระบวนการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัย 3. วิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้ง และประเด็นความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสรรหาอธิการบดีของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและ 4. ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นโดยใช้หลักธรรมาภิบาลและพัฒนากระบวนการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ การวิจัยนั้นเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structure interview) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและบุคคลากรภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง ๆ ละ 2 รายและกลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการในสถาบันคลังสมองของชาติภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 5 ราย ผลการศึกษาในครั้งนี้ ค้นพบว่า การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการรัฐบาลจึงมอบอำนาจในการกำกับดูแลไว้ที่สภามหาวิทยาลัยเป็นสำคัญรวมทั้งการสรรหาอธิการบดี ความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสรรหามาจากสาเหตุหลายประการทั้งที่คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสภามหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถแยกแยะประเด็นความขัดแย้งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ประเด็นความขัดแย้ง ด้านความสัมพันธ์ ด้านผลประโยชน์ ด้านข้อมูล ด้านค่านิยม และด้านโครงสร้าง จากผลการศึกษาพบว่า ประเด็นความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับด้านผลประโยชน์ ด้านโครงสร้าง ด้านค่านิยม ส่วนประเด็นความขัดแย้งทั้งที่เกี่ยวข้องกับด้านความสัมพันธ์เกิดขึ้นค่อนข้างชัดเจนในบางกรณีสำหรับประเด็นความขัดแย้ง ด้านข้อมูลไม่ปรากฎอย่างชัดเจน สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งมี 5 รูปแบบ ได้แก่ การเอาชนะการยอมตามการหลีกเลี่ยงการร่วมมือและการประนีประนอม ผลการวิจัย พบว่า วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการสรรหาอธิการบดีที่เหมาะสม ได้แก่ การร่วมมือและการประนีประนอม อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นโดยการร่วมมือและการประนีประนอมดังกล่าวจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล โดยฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรยึดมั่นในเรื่องต่อไปนี้ ตามลำดับ ความสำคัญ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่าในส่วนสุดท้าย ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางบางประการในการพัฒนากระบวนการสรรหาอธิการบดีไว้ด้วย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9955
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55820037.pdf6.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น