กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9955
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์
dc.contributor.authorทัดฐ์สพล นนท์ทวีกิจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:36:18Z
dc.date.available2023-09-18T07:36:18Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9955
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการมหาวิทยาลัยของรัฐจากส่วนราชการสุ่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับและแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2. ศึกษากระบวนการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัย 3. วิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้ง และประเด็นความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสรรหาอธิการบดีของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและ 4. ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นโดยใช้หลักธรรมาภิบาลและพัฒนากระบวนการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ การวิจัยนั้นเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structure interview) ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและบุคคลากรภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง ๆ ละ 2 รายและกลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการในสถาบันคลังสมองของชาติภายใต้มูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 5 ราย ผลการศึกษาในครั้งนี้ ค้นพบว่า การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการรัฐบาลจึงมอบอำนาจในการกำกับดูแลไว้ที่สภามหาวิทยาลัยเป็นสำคัญรวมทั้งการสรรหาอธิการบดี ความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นในกระบวนการสรรหามาจากสาเหตุหลายประการทั้งที่คล้ายคลึงกัน และแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสภามหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถแยกแยะประเด็นความขัดแย้งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ประเด็นความขัดแย้ง ด้านความสัมพันธ์ ด้านผลประโยชน์ ด้านข้อมูล ด้านค่านิยม และด้านโครงสร้าง จากผลการศึกษาพบว่า ประเด็นความขัดแย้งทั้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับด้านผลประโยชน์ ด้านโครงสร้าง ด้านค่านิยม ส่วนประเด็นความขัดแย้งทั้งที่เกี่ยวข้องกับด้านความสัมพันธ์เกิดขึ้นค่อนข้างชัดเจนในบางกรณีสำหรับประเด็นความขัดแย้ง ด้านข้อมูลไม่ปรากฎอย่างชัดเจน สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งมี 5 รูปแบบ ได้แก่ การเอาชนะการยอมตามการหลีกเลี่ยงการร่วมมือและการประนีประนอม ผลการวิจัย พบว่า วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการสรรหาอธิการบดีที่เหมาะสม ได้แก่ การร่วมมือและการประนีประนอม อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นโดยการร่วมมือและการประนีประนอมดังกล่าวจะต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล โดยฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรยึดมั่นในเรื่องต่อไปนี้ ตามลำดับ ความสำคัญ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่าในส่วนสุดท้าย ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางบางประการในการพัฒนากระบวนการสรรหาอธิการบดีไว้ด้วย
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectอธิการบดี
dc.subjectการสรรหาบุคลากร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
dc.subjectธรรมรัฐ
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.titleการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการสรรหาอธิการบดีตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยนเรศวร
dc.title.alternativeSolving conflicts in recruitment of the university president in ccordnce with good governnce principles: cse studies of ksetsrt university, burph university nd nresun university
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aims to: 1. study the development of public universities from bureaucratic offices to autonomous ones, and the concept of autonomous university; 2. study the recruitment process of university presidents; 3. analyze existing conflicts and their factors in recruitment process; 4. propose the way to solve the conflicts by applying good governance principles, and develop the appropriate recruitment process of university presidents. This research conducts a phenomenological qualitative approach with 6 former executives from all three public universities, and other five academics from the Knowledge Network Institute of Thailand. Semistructured interviews were employed as the main data collection technique. The results of the research show that the purpose of becoming autonomous university is for flexibility and efficiency in management; therefore, the university council was empowered sole authority to direct and supervise the university administration including the recruitment of university presidents. The existing conflicts in recruitment process of three public universities resulted from many causes which might be similar or different. Most conflicts occurred in the university council could be explained in five kinds of conflict factors including: 1. Relationship Conflict, 2. Interest Conflict, 3. Data Conflict, 4. Value Conflict, and 5. Structural Conflict. However, based on the results, most conflicts were concerned with Interest Conflict, Structural Conflict and Value Conflict. Relationship Conflict apparently occurred in some case, while Data Conflict was insignificant. The conflict management theory proposed the way how to efficiently manage the conflicts which consisted of Competing Style, Accommodating Style, Avoiding Style, Collaborating Style, and Compromising style. However, two feasible ways to solve the conflicts in recruitment process of university presidents are Collaborating Style, and Compromising style. Moreover, all stakeholders who involve in recruitment process should apply and focus the following principles of Good Governance accordingly: Rule of Law, Morality, Transparency, Accountability, Participation, and Worthiness. Finally the researcher also proposed some recommendations to improve the recruitment process of university presidents
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineยุทธศาสตร์และความมั่นคง
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55820037.pdf6.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น