กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9954
ชื่อเรื่อง: การจัดการเพื่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The mngement for mking security of locl smll nd medium-sized industries in chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุรัตน์ อนันทนาธร
จารุภาส พลตื้อ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
ธุรกิจขนาดย่อม -- ไทย -- ชลบุรี
ธุรกิจขนาดกลาง -- ไทย -- ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายภาครัฐในการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงนโยบายมาตราการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐ และเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยใช้ในการจัดการเพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี จำนวน 398 ตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำรวจโดยให้แบบสอบถามการวิจัย และ 2. ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ เชิงลึก ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญต่อสถานการณ์ทางธุรกิจและสภาพปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ของกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 8 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis: MRA) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (Coefficient of Determination: R2) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายภาครัฐในการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยที่สำคัญสามารถสรุปนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากกลุ่มธุรกิจชุมชน ธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่มีความสำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการการดำเนินกิจการ 2. ปัญหาและข้อจำกัดของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยในการเข้าถึงนโยบายมาตราการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐ โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกประเด็น โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านแรงงาน รองลงมา คือ ด้านข้อระเบียบและกฎหมาย ด้านการตลาด ด้านการเข้าถึงการบริการภาครัฐ ด้านเงินลงทุน ด้านเทคโนโลยีทางการผลิต และด้านความสามารถในการจัดการ ตามลำดับ 3. อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนใหญ่มีกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการเพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการ โดยรวมนั้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นั้นอยู่ในระดับมาก 2 ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการเข้าถึงการบริการภาครัฐ และด้านการตลาด และมีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางอีก 5 ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านเงินลงทุน รองลงมาคือ ด้านแรงงาน ด้านความสามารถในการจัดการ ด้านข้อระเบียบและกฎหมาย และด้านเทคโนโลยีทางการผลิต ตามลำดับ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9954
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57820018.pdf8.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น