กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9954
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอนุรัตน์ อนันทนาธร
dc.contributor.authorจารุภาส พลตื้อ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:36:18Z
dc.date.available2023-09-18T07:36:18Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9954
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายภาครัฐในการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงนโยบายมาตราการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐ และเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยใช้ในการจัดการเพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี จำนวน 398 ตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำรวจโดยให้แบบสอบถามการวิจัย และ 2. ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ เชิงลึก ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญต่อสถานการณ์ทางธุรกิจและสภาพปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ของกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น 8 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์การ ถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis: MRA) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (Coefficient of Determination: R2) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายภาครัฐในการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยที่สำคัญสามารถสรุปนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากกลุ่มธุรกิจชุมชน ธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่มีความสำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการการดำเนินกิจการ 2. ปัญหาและข้อจำกัดของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยในการเข้าถึงนโยบายมาตราการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐ โดยรวมนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกประเด็น โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านแรงงาน รองลงมา คือ ด้านข้อระเบียบและกฎหมาย ด้านการตลาด ด้านการเข้าถึงการบริการภาครัฐ ด้านเงินลงทุน ด้านเทคโนโลยีทางการผลิต และด้านความสามารถในการจัดการ ตามลำดับ 3. อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนใหญ่มีกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการเพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการ โดยรวมนั้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นั้นอยู่ในระดับมาก 2 ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการเข้าถึงการบริการภาครัฐ และด้านการตลาด และมีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางอีก 5 ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านเงินลงทุน รองลงมาคือ ด้านแรงงาน ด้านความสามารถในการจัดการ ด้านข้อระเบียบและกฎหมาย และด้านเทคโนโลยีทางการผลิต ตามลำดับ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subjectธุรกิจขนาดย่อม -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectธุรกิจขนาดกลาง -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
dc.titleการจัดการเพื่อความมั่นคงของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeThe mngement for mking security of locl smll nd medium-sized industries in chonburi
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study a government policy to promote Thai small and medium-sized industries. To study a problems and limitations of SMEs entrepreneurs in accessing the policies of the government. And to study the management strategies of SMEs entrepreneurs for making security. The sample groups used in this research is divided into 2 groups, namely: 1.SMEs entrepreneurs in Chonburi province, for 398 samples and 2. Data providers for the in-depthinterviews was the management group of the federation of Thai industries Chonburi chapter and The Chonburi chamber of commerce. , totaling 8 persons. The instrument used in this study was a questionnaire. Data analysis is processed using statistical software packages. The statistics used are Frequency, Percentage, Mean, and Standard Deviation. In hypothesis testing, the multiple linear regression analysis (MRA) is used with the coefficient of determination (R2), and the statistical significance level is set at 0.05. The results of the research are as follows: 1. The government policy to promote Thai small and medium-sized industries were emphasizing the foundation economic development, innovations, and technologies. 2. Overall, mostSMEs entrepreneurs in Chonburi province have a moderate level of problems and limitations of SMEs entrepreneurs in accessing the policies of the government When considered individually, it was found that all 7 issues are at a moderate level in descending order as follows labor, regulations and laws, marketing, Accessing to government services, investment, production technology and management ability, respectively. 3. Overall, mostSMEs entrepreneurs in Chonburi province have a moderate level of management strategies for making security, it was found that2 issues are at a high level in descending order as follows Accessing to government services and marketing, moreover it was found that 5 issues are at a moderate level in descending order as follows investment, labor, management ability, regulations and laws and production technology, respectively.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineยุทธศาสตร์และความมั่นคง
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57820018.pdf8.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น