กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9679
ชื่อเรื่อง: | คุณลักษณะทางประชากรเศรษฐกิจ สังคม และการเป็นหนี้ของลูกหนี้นอกระบบในตำบลแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The chrcteristics of popultion, economic, socil nd the indebtness under the informl debt in one district of pthum thni province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ ชินรัตน์ สมสืบ ณัฐวุธ ประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | หนี้ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง คุณลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคมและการเป็นหนี้ของลูกหนี้นอกระบบในตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองปทุมธานี โดยศึกษาจากประชากรซึ่งเป็นลูกหนี้นอกระบบในตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองปทุมธานี โดยศึกษาจากประชากรซึ่งเป็นลูกหนี้นอกระบบในตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองปทุมธานีทั้งหมด จำนวน 148 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการศึกษาลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของลูกหนี้นอกระบบในตำบลที่ทำการศึกษาวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (93.92%) มีเพศหญิงเพียง (6.08%) มีช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี (69.59%) รองลงมาคือช่วงอายุ 41-50 ปี (21.62%) ส่วนใหญ่ล้วนมีสถานภาพสมรส (89.19%) และสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (57.43%) รองลงมาสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา (29.05%) และไม่พบลูกหนี้นอกระบบที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย (52.70%) รอลงมาคือ อาชีพรับจ้าง (ทำงานในโรงงาน) (23.65%) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท/ เดือน (56.76%) รองลงมา คือ 10,001-20,000 บาท/ เดือน (40.54%) มีจำนวนบุคคลที่อาศัยอยู่ในครอบครัว 4-6 คน เป็นส่วนใหญ่ (62.84%) และไม่มีตำแหน่งในชุมชน (98.65%) ส่วนผลการศึกษาลักษณะการเป็นหนี้ของลูกหนี้นอกระบบในตำบลที่ทำการศึกษาวิจัย พบว่า ลูกหนี้นอกระบบฯ มีการกู้เงิน โดยมีการระบุเวลาเป็นส่วนใหญ่ (89.19%) โดยลูกหนี้ฯ ต้องชำระเงินที่กู้ยืมคืนภายใน 1 เดือน (58.78%) และลูกหนี้ฯ ส่วนใหญ่มีจำนวนหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท (83.78%) ปัญหาที่ลูกหนี้ฯ กำลังประสบปัญหาอยุ่มากที่สุด คือ อัตราดอกเบี้ยแพง (95.27%) ส่วนใหญ่กู้เงินไปเพื่อนำไปเป็นทุนในการประกอบอาชีพ (91.89%) และต้องการใช้เงินด่วน (72.30%) โดยลูกหนี้ฯ ส่วนใหญ่จะต้องใช้หลักประกันกับเจ้าหนี้นอกระบบฯ (60.81%) ด้วยการนำบุคคลที่เจ้าหน้าที่ให้การยอมรับมาเป็นผู้ค้ำประกัน (50%) สำหรับสาเหตุที่เข้าสู่วงจรของการเป็นหนี้นอกระบบในครั้งแรก คือ การนำเงินไปลงทุน (87.84%) โดยลูกหนี้นอกระบบฯ ส่วนใหญ่ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาให้ตนเองหลุดพ้นจากการเป็นหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนถาวร (91.84%) ส่วนที่เหลือ เลือกที่จะแก้ปัญหาการหลุดพ้นจากการเป็นหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนถาวรด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิถีในการดำเนินชีวิตไปจากเดิม ด้วยการลดรายจ่ายในครอบครัวที่ไม่จำเป็น หารายได้เพิ่ม/ รายได้เสริม (4.73%) สิ่งที่ลูกหนี้นอกระบบต้องการความช่วยเหลือคือให้หาแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินที่ให้กู้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อปกติ (86.40%) และรองลงมาต้องการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้นโดยลดขั้นตอนและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการกู้ยืมให้น้อยลง (13.51%) นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยพบว่า เจ้าหนี้นอกระบบในพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัย เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ และเงื่อนไขในการปล่อยเงินกู้ให้กับผู้กู้หรือลูกหนี้ฯ ทั้งนี้ลูกหนี้แต่ละรายอาจได้รับเงื่อนไขในการกู้เงินที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นไปตามความสัมพันธ์และความไว้วางใจระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบกรณีเกิดหนี้ที่กู้ยืมไปสูญ อันเกิดจากการที่ลูกหนี้หมดสามารถในการชำระเงินกู้ยืมไปคืนได้ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากเรื่องใด ๆ ก็ตาม รวมทั้งเจ้าหนี้ต้องการกระจายความเสี่ยง โดยการให้ลูกหนี้กู้เงินด้วยจำนวนเงินที่ไม่มากนัก หากเกิดความเสียหายจะได้เสียหายไม่มากนัก ยกเว้นเป็นบางกรณีที่เจ้าหนี้มีความสัมพันธ์ที่ดี และมีความเชื่อถือหรือมีความไว้วางใจเป็นการส่วนตัว หรือเจ้าหนี้มีความเชื่อถือในหลักประกัน และอื่น ๆ ของลูกหนี้มาเป็นข้อมูลในการพิจารณาในการปล่อยเงินกู้ให้ลูกหนี้ด้วย สำหรับข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยในเชิงการปฏิบัติ คือ รัฐควรจัดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยในการเจรจาไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้นอกระบบกับเจ้าหนี้นอกระบบ โดยมีหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายคอยให้การสนับสนุน และอำนวยความสะดวกโดยใกล้ชิด โดยมีธนาคารภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ร่วมให้การช่วยเหลือในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ด้วยการลดขั้นตอนและเงื่อนไขในการพิจารณาสินเชื่อในระบบให้กับลูกหนี้นอกระบบ เพื่อให้ลูกหนี้นอกระบบเข้าถึงสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้สินเชื่อปกติ รวมทั้งมีการจัดเจ้าหน้าที่ลงไปจัดอบรม ให้ความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ให้กับลูกหนี้นอกระบบเพิ่มมากขึ้น หลังจากลงไปแก้ไขปัญหา ควรจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปประเมินผลการดำเนินการในทุก ๆ วงรอบ 3 เดือน วงรอบ 6 เดือน และวงรอบ 1 ปี เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการภายหลังลงไปแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในพื้นที่ โดยหากไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เช่น ยังพบว่ามีเจ้าหนี้นอกระบบปล่อยเงินกู้ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือ ยังมีจำนวนของลูกหนี้นอกระบบในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ให้พิจารณาทบทวนแนวทางในการดำเนินการใหม่ทั้งหมดพร้อมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่ยังเป็นช่องโหว่ เพื่อสัมฤทธิ์ผลในการแก้ไขปัญหา ฯ เพื่อความสัมฤทธิ์ผลที่ยั่งยืนต่อไป |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9679 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59930151.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น