กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9679
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
dc.contributor.advisorชินรัตน์ สมสืบ
dc.contributor.authorณัฐวุธ ประสิทธิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-09-18T07:09:23Z
dc.date.available2023-09-18T07:09:23Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9679
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง คุณลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคมและการเป็นหนี้ของลูกหนี้นอกระบบในตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองปทุมธานี โดยศึกษาจากประชากรซึ่งเป็นลูกหนี้นอกระบบในตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองปทุมธานี โดยศึกษาจากประชากรซึ่งเป็นลูกหนี้นอกระบบในตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองปทุมธานีทั้งหมด จำนวน 148 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) โดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการศึกษาลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคมของลูกหนี้นอกระบบในตำบลที่ทำการศึกษาวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (93.92%) มีเพศหญิงเพียง (6.08%) มีช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี (69.59%) รองลงมาคือช่วงอายุ 41-50 ปี (21.62%) ส่วนใหญ่ล้วนมีสถานภาพสมรส (89.19%) และสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (57.43%) รองลงมาสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา (29.05%) และไม่พบลูกหนี้นอกระบบที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย (52.70%) รอลงมาคือ อาชีพรับจ้าง (ทำงานในโรงงาน) (23.65%) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท/ เดือน (56.76%) รองลงมา คือ 10,001-20,000 บาท/ เดือน (40.54%) มีจำนวนบุคคลที่อาศัยอยู่ในครอบครัว 4-6 คน เป็นส่วนใหญ่ (62.84%) และไม่มีตำแหน่งในชุมชน (98.65%) ส่วนผลการศึกษาลักษณะการเป็นหนี้ของลูกหนี้นอกระบบในตำบลที่ทำการศึกษาวิจัย พบว่า ลูกหนี้นอกระบบฯ มีการกู้เงิน โดยมีการระบุเวลาเป็นส่วนใหญ่ (89.19%) โดยลูกหนี้ฯ ต้องชำระเงินที่กู้ยืมคืนภายใน 1 เดือน (58.78%) และลูกหนี้ฯ ส่วนใหญ่มีจำนวนหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท (83.78%) ปัญหาที่ลูกหนี้ฯ กำลังประสบปัญหาอยุ่มากที่สุด คือ อัตราดอกเบี้ยแพง (95.27%) ส่วนใหญ่กู้เงินไปเพื่อนำไปเป็นทุนในการประกอบอาชีพ (91.89%) และต้องการใช้เงินด่วน (72.30%) โดยลูกหนี้ฯ ส่วนใหญ่จะต้องใช้หลักประกันกับเจ้าหนี้นอกระบบฯ (60.81%) ด้วยการนำบุคคลที่เจ้าหน้าที่ให้การยอมรับมาเป็นผู้ค้ำประกัน (50%) สำหรับสาเหตุที่เข้าสู่วงจรของการเป็นหนี้นอกระบบในครั้งแรก คือ การนำเงินไปลงทุน (87.84%) โดยลูกหนี้นอกระบบฯ ส่วนใหญ่ไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาให้ตนเองหลุดพ้นจากการเป็นหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนถาวร (91.84%) ส่วนที่เหลือ เลือกที่จะแก้ปัญหาการหลุดพ้นจากการเป็นหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนถาวรด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิถีในการดำเนินชีวิตไปจากเดิม ด้วยการลดรายจ่ายในครอบครัวที่ไม่จำเป็น หารายได้เพิ่ม/ รายได้เสริม (4.73%) สิ่งที่ลูกหนี้นอกระบบต้องการความช่วยเหลือคือให้หาแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินที่ให้กู้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าสินเชื่อปกติ (86.40%) และรองลงมาต้องการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้นโดยลดขั้นตอนและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการกู้ยืมให้น้อยลง (13.51%) นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยพบว่า เจ้าหนี้นอกระบบในพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัย เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ และเงื่อนไขในการปล่อยเงินกู้ให้กับผู้กู้หรือลูกหนี้ฯ ทั้งนี้ลูกหนี้แต่ละรายอาจได้รับเงื่อนไขในการกู้เงินที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นไปตามความสัมพันธ์และความไว้วางใจระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบกรณีเกิดหนี้ที่กู้ยืมไปสูญ อันเกิดจากการที่ลูกหนี้หมดสามารถในการชำระเงินกู้ยืมไปคืนได้ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากเรื่องใด ๆ ก็ตาม รวมทั้งเจ้าหนี้ต้องการกระจายความเสี่ยง โดยการให้ลูกหนี้กู้เงินด้วยจำนวนเงินที่ไม่มากนัก หากเกิดความเสียหายจะได้เสียหายไม่มากนัก ยกเว้นเป็นบางกรณีที่เจ้าหนี้มีความสัมพันธ์ที่ดี และมีความเชื่อถือหรือมีความไว้วางใจเป็นการส่วนตัว หรือเจ้าหนี้มีความเชื่อถือในหลักประกัน และอื่น ๆ ของลูกหนี้มาเป็นข้อมูลในการพิจารณาในการปล่อยเงินกู้ให้ลูกหนี้ด้วย สำหรับข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยในเชิงการปฏิบัติ คือ รัฐควรจัดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องช่วยในการเจรจาไกล่เกลี่ย ประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้นอกระบบกับเจ้าหนี้นอกระบบ โดยมีหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายคอยให้การสนับสนุน และอำนวยความสะดวกโดยใกล้ชิด โดยมีธนาคารภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ร่วมให้การช่วยเหลือในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ด้วยการลดขั้นตอนและเงื่อนไขในการพิจารณาสินเชื่อในระบบให้กับลูกหนี้นอกระบบ เพื่อให้ลูกหนี้นอกระบบเข้าถึงสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้สินเชื่อปกติ รวมทั้งมีการจัดเจ้าหน้าที่ลงไปจัดอบรม ให้ความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ให้กับลูกหนี้นอกระบบเพิ่มมากขึ้น หลังจากลงไปแก้ไขปัญหา ควรจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปประเมินผลการดำเนินการในทุก ๆ วงรอบ 3 เดือน วงรอบ 6 เดือน และวงรอบ 1 ปี เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการภายหลังลงไปแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในพื้นที่ โดยหากไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เช่น ยังพบว่ามีเจ้าหนี้นอกระบบปล่อยเงินกู้ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือ ยังมีจำนวนของลูกหนี้นอกระบบในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ให้พิจารณาทบทวนแนวทางในการดำเนินการใหม่ทั้งหมดพร้อมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบที่ยังเป็นช่องโหว่ เพื่อสัมฤทธิ์ผลในการแก้ไขปัญหา ฯ เพื่อความสัมฤทธิ์ผลที่ยั่งยืนต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectหนี้
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.titleคุณลักษณะทางประชากรเศรษฐกิจ สังคม และการเป็นหนี้ของลูกหนี้นอกระบบในตำบลแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
dc.title.alternativeThe chrcteristics of popultion, economic, socil nd the indebtness under the informl debt in one district of pthum thni province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe research on the characteristics of populations, economic social and the indebtedness under the informal debt in one district of Pathum Thani Province is based on 148 citizens who are debtors under the non-formal loans in a district of Pathum Thani Province, and is conducted by means of questionnaire for collecting data. The data analysis is later performed with the descriptive staitstics using the methods of frequency and percentage. The findings on the characteristics of population, economy, and society of debtors in illegal non-formal loans in the researched area show that most debtors are female (93.92%) while male debtors are accounted for at only 6.08%. The biggest age range is between 31.40 years old (69.59%), followed by the age range of 41-50 years (21.62%). Most debtors are usually married (89.19%) and graduated with secondary-school degree (57.43%), followed by primary-school degree (29.05%). Debtors in the non-formal loans who graduated with master’s degree are not found. Most of the debtors are in commerce profession (52.70%), followed by miscellaneous jobs (factory workers) (23.65%). Most of them earn a salary under 10,000.-Baht/ month in average (56.76%), followed by 10,001-20,000.-Baht (40.54%). Most of them live in a family composing of 4-6 members (62.84%) and perform no authority in the community (98.65%). The findings on the characteristics of the indebtedness of the debtors under non-formal loans in the researched area show that most of them borrow money with indicated return time (89.19%) in which they have to pay back their debts within 1 month (58.78%) and most owe the money under 5,000.-Baht (83.78%). The biggest problems that the debtors are facing with is high interest rate (95.27%). Most debtors borrow money as a means to start their profession (91.89%) or to substitute for quick cashflow (72.30%). Most debtors need to place their guarantor with the loan sharks (60.81%) by selecting individuals that the loan sharks agree with to become their guarantors (50%). Meanwhile, the reason that sparks the indebtedness in the non-formal loans for the first time is the need of cash for investment (87.84%) in which most debtors do not have the means to sustainably and permanently free themselves from this indebtedness under the non-formal loans (91.84%). The rest choose to solve this problem by changing their way of thinking and lifestyle by reducing unnecessary expenses in their households, earning more/ additional income (4.73%). What debtors in the non-formal loan scheme want is to find financial source in the financial institution that could provide loans at lower interest rat (86.49%) followed by gaining easier access to the financial institution with reduced steps and conditions in asking for the loan (13.51%), Moreover, the research discovers that the loan sharks in the researched area are the ones who impose the rules and conditions in providing loans to borrowers or debtors. Each debtor may receive different loan conditions depending on the relations and trust with the creditor. This is done to prevent the consequences of loss of debt due to the debtor’s inability to pay back, regardless of any factors. It can also be the result of the debtors’ risk aversion in which they provide small amount of loans to debtros. As a result, when the damage is done, it will be at low level. There is an exception in some cases in which the creditors have close ties, confidence or trust towards the debtors. They may also feel confident in their debtors’ guarantors or others, and thus rely on these factors as the criteria to provide the loan to the debtors. After the research, the practical recommendation is that the official should set up related staff in the negotiation and extension of debts between the debtors and the creditors in the non-formal loan system. This scheme should be supported and facilitated attentively by law enforcement units. State-supervised banks should also join the collective effort in tackling the issue of non-formal loans by reducing steps and conditions in granting the loans to the debtors, so they will be able to gain access to the loan system with lower interest rate than the normal one. Staff that could provide workshop and knowledge should be formed to increase the debtors’ career potential for their ability to earn more income. After tackling the issue, the staff should be sent to evaluate the operation every 3 months, 6 months, and every year in order to study the outcome of the solution. If the result is not satisfactory, namely there are creditors who still provide non-formal loans with higher interest rate than what’s indicated by the law, or the number of debtors under the non-formal loans in that area is still increasing, the operational guideline needs to be re-considered whereas the solution to cover the loophole in the non-formal loan system needs to be discovered to efficiently achieve the solution as a means to continue the sustainable achievement.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารทั่วไป
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930151.pdf4.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น