กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8661
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรและการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในรูปแบบใหม่ตามโครงการโคบาลบูรพาสระแก้ว อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Beef cttle rising strtegies nd the promotion of new-style beef cttle rising in ccordnce with Cowboy Burph S Keo project Arnyphthet distsict SrKew province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญญาดา กระจ่างแจ้ง
วุฒิลากรณ์ หันทยุง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: โคเนื้อ -- การเลี้ยง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวีตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรและเพื่อศึกษาการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในรูปแบบใหม่ตามโครงการโคบาลบูรพาสระแก้ว อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 15 ท่าน และทำการยืนยันข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรและการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในรูปแบบใหม่ตามโครงการโคบาลบูรพาสระแก้ว อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นโอกาสที่ดีของจังหวัดสระแก้ว ที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่เมืองปศุสัตว์ซึ่งรวมถึงมีความพร้อมจากหน่วยงานในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องโดยพบว่า กลยุทธ์การเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรประกอบด้วยกลยุทธ์ด้านการผลิตโคเนื้อโครงการโคบาลบูรพามีโอกาสการพัฒนาเนื้อโคการส่งออกแบบครบวงจรประเภทพร้อมบริโภค สามารถสร้างเอกลักษณ์ ของเนื้อโคไทยได้มีระบบการผลิตเนื้อโคคุณภาพสูงอย่างเป็นรูปธรรม กลยุทธ์ด้านการควบคุมป้องกันโรคระบาดทางกรมปศุสัตว์มีการบริการในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยปีละ 2 ครั้ง บริการให้เกษตรกรฟรีและมีการฉีดวัคซีนโรคคอบวมคอตีบ และกลยุทธ์ด้านการพัฒนาระบบการตลาด การประชาสัมพันธ์รณรงค์ ส่งเสริมให้คนในประเทศหันมานิยมบริโภคเนื้อโคมากขึ้นเน้น เรื่องคุณค่าทางโภชนาการต่อการเจริญเติบโต กลยุทธ์ด้านการพัฒนาระบบการตลาดให้สหกรณ์เป็นผู้ดำเนินงาน ส่วนการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในรูปแบบใหม่ตามโครงการบูรพาสระแก้ว พบว่า ในประเด็นการเพิ่มปริมาณโคเนื้อในประเทศไทยเพื่อรองรับตลาดภายในประเทศและกลุ่มอาเซียน เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเวียดนาม และจีน ประเด็น การพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อครบวงจรโดยมีระบบการผลิตโคเนื้อคุณภาพสูงในการแปรรูป ประเด็นลดการนำเข้าเคลื่อนย้ายสัตว์และประเด็นเกษตรกรมีอาชีพมั่นคง โดยเกษตรกรทราบต้นทุนที่แท้จริงนำไปสู่การบริหาร โครงการที่มีประสิทธิภาพนำพาเกษตรกรให้มีอาชีพมั่นคงยึดเป็นอาชีพหลักได้ต่อไป
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8661
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59710063.pdf4.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น