กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8596
ชื่อเรื่อง: คุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The service qulity of police prevention nd suppression in bng pkong police sttion, chchoengso province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพจน์ บุญวิเศษ
สมพัตรสรณ์ สุริย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ตำรวจ
ตำรวจ -- การทำงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง คุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจ สายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้าใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าที (t-Test) สําหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สําหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป ถ้าพบความแตกต่างจากการทดสอบค่าสถิติจะทําการตรวจสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41-50 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท มีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับต่อไปนี้ ด้านความน่าเชื่อถือ เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้บริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริกา, ด้านกายภาพ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในผู้รับบริการ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา ต่างกันมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานี ตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8596
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920179.pdf1.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น