กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8596
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุพจน์ บุญวิเศษ | |
dc.contributor.author | สมพัตรสรณ์ สุริย์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:00:57Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:00:57Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8596 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่อง คุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจ สายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้าใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าที (t-Test) สําหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สําหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 3 กลุ่มขึ้นไป ถ้าพบความแตกต่างจากการทดสอบค่าสถิติจะทําการตรวจสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41-50 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท มีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับต่อไปนี้ ด้านความน่าเชื่อถือ เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้บริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริกา, ด้านกายภาพ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในผู้รับบริการ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา ต่างกันมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานี ตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตํารวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตํารวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่แตกต่างกัน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ตำรวจ | |
dc.subject | ตำรวจ -- การทำงาน | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม | |
dc.title | คุณภาพบริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายงานป้องกันและปราบปราม เขตพื้นที่สถานีตำรวจภูธรบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา | |
dc.title.alternative | The service qulity of police prevention nd suppression in bng pkong police sttion, chchoengso province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This researcher titled The Service Quality of Police Prevention and Suppression in Bang Pakong Police Station, Chachoengsao Province. The objective of the study was to investigate the satisfaction level of people toward the service quality of prevention and suppression officers at Bang Pakong Police Station, Chachoengsao Province and to compare service quality rendered by prevention and suppression officers, Bang Pakong Police Station, Chachoengsao Province by gender, age, education level, occupation and monthly income. A research methodology employed was survey research. A sample group of 400 participants. Statistics for data analysis included frequency, percentage, average and standard deviation. Also, t-test was applied to compare the difference between two independent variables and one-way analysis of variance (One-way ANOVA) was applied to compare the difference between more than three independent variables. If the difference in statistics is detected, Scheffe’s method was further applied to perform a pair-wise comparison at a statistically significant at .001 level Findings revealed that a major of respondents were female, aged 41-50 years old, had an undergraduate education and worked. They rated the service quality of prevention and suppression officers, Bang Pakong Police Station, Chachoengsao Province at a high level on all aspects ranked as follows: reliability, assurance, responsiveness, tangibility and empathy. Regarding to the result of hypothesis testing, it was found that people with different genders, ages, occupations and education levels were at different satisfaction levels on the service quality rendered by prevention and suppression officers, Bang Pakong Police Station, Chachoengsao Province at a statistically significant at .001 level. But people with different monthly incomes had an indifferent satisfaction about the service quality from prevention and suppression officers, Bang Pakong Police Station, Chachoengsao Province | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารงานยุติธรรมและสังคม | |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
58920179.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น