กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8591
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 : ศึกษากรณีผู้พ้นโทษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legl problems of service provider qulifictions in the helth estblishment ct, b.e. 2559 (2016): cse study of cquitter
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชนี แตงอ่อน
ปิยนุช ปาละศักดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: สถานบริการสุขภาพ
สถานประกอบการ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการกําหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยศึกษากรณีการกําหนดลักษณะต้องห้ามในการเข้าสู่อาชีพของผู้เคยต้องคําพิพากษาที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 จากการศึกษาพบว่า กฎหมายฉบับนี้กําหนดลักษณะต้องห้ามของผู้เคยต้องคําพิพากษา ในการขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ เพื่อป้องกันการประกอบธุรกิจแอบแฝงในการดําเนินกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และให้เกิดความน่าเชื่อถือจากผู้รับบริการกรมราชทัณฑ์ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุม ดูแล แก้ไขฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง เล็งเห็นว่า การฝึกอบรมวิชาชีพนวดแผนไทย เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีใช้ทุนในการประกอบอาชีพน้อย และเป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องขัง จึงได้มีการส่งเสริมให้มีการฝึกวิชาชีพตามหลักสูตรมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ จนผู้ต้องขังที่ผ่านการฝึกอบรมได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองเพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพภายหลังจากได้รับการปล่อยตัวแต่ในความเป็นจริงพบว่า ผู้ต้องขังหรือผู้เคยต้องคําพิพากษาไม่สามารถนําความรู้ ความสามารถ หรือทักษะฝีมือที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพได้ เนื่องจากถูกจํากัดสิทธิในการเข้าสู่อาชีพตามกฎหมายฉบับนี้ ส่งผลให้ผู้ต้องขังหรือผู้เคยต้องคําพิพากษาไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเหมาะสมและเป็นการปิดโอกาสของผู้เคยต้องคําพิพากษาให้สามารถกลับมาดํารงชีวิตในสังคมได้ อย่างเป็นปกติสุข จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการยกเลิกการกําหนดลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับฐานความผิดของผู้เคยต้องคําพิพากษาและเงื่อนไขระยะเวลาเมื่อพ้นโทษ และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการ เห็นควรให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวหรือผู้เคยต้องคําพิพากษาที่ได้รับการฝึกวิชาชีพจนผ่านหลักสูตรและได้รับใบประกาศนียบัตรแล้ว และพ้นโทษมาแล้วยัง ไม่เกิน 1 ปี ให้ผ่านการตรวจสอบหรือคุมประพฤติไว้โดยหน่วยงานของรัฐ เพื่อเป็นการรับรองพฤติกรรมของผู้พ้นโทษและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคม
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8591
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56921195.pdf1.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น