กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8591
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorรัชนี แตงอ่อน
dc.contributor.authorปิยนุช ปาละศักดิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:00:56Z
dc.date.available2023-06-06T04:00:56Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8591
dc.descriptionงานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการกําหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยศึกษากรณีการกําหนดลักษณะต้องห้ามในการเข้าสู่อาชีพของผู้เคยต้องคําพิพากษาที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 จากการศึกษาพบว่า กฎหมายฉบับนี้กําหนดลักษณะต้องห้ามของผู้เคยต้องคําพิพากษา ในการขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ เพื่อป้องกันการประกอบธุรกิจแอบแฝงในการดําเนินกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และให้เกิดความน่าเชื่อถือจากผู้รับบริการกรมราชทัณฑ์ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุม ดูแล แก้ไขฟื้นฟู และพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง เล็งเห็นว่า การฝึกอบรมวิชาชีพนวดแผนไทย เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีใช้ทุนในการประกอบอาชีพน้อย และเป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องขัง จึงได้มีการส่งเสริมให้มีการฝึกวิชาชีพตามหลักสูตรมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ จนผู้ต้องขังที่ผ่านการฝึกอบรมได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองเพื่อนําไปใช้ในการประกอบอาชีพภายหลังจากได้รับการปล่อยตัวแต่ในความเป็นจริงพบว่า ผู้ต้องขังหรือผู้เคยต้องคําพิพากษาไม่สามารถนําความรู้ ความสามารถ หรือทักษะฝีมือที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพได้ เนื่องจากถูกจํากัดสิทธิในการเข้าสู่อาชีพตามกฎหมายฉบับนี้ ส่งผลให้ผู้ต้องขังหรือผู้เคยต้องคําพิพากษาไม่สามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเหมาะสมและเป็นการปิดโอกาสของผู้เคยต้องคําพิพากษาให้สามารถกลับมาดํารงชีวิตในสังคมได้ อย่างเป็นปกติสุข จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการยกเลิกการกําหนดลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับฐานความผิดของผู้เคยต้องคําพิพากษาและเงื่อนไขระยะเวลาเมื่อพ้นโทษ และเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการ เห็นควรให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวหรือผู้เคยต้องคําพิพากษาที่ได้รับการฝึกวิชาชีพจนผ่านหลักสูตรและได้รับใบประกาศนียบัตรแล้ว และพ้นโทษมาแล้วยัง ไม่เกิน 1 ปี ให้ผ่านการตรวจสอบหรือคุมประพฤติไว้โดยหน่วยงานของรัฐ เพื่อเป็นการรับรองพฤติกรรมของผู้พ้นโทษและเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สังคม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสถานบริการสุขภาพ
dc.subjectสถานประกอบการ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.titleปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ให้บริการตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 : ศึกษากรณีผู้พ้นโทษ
dc.title.alternativeLegl problems of service provider qulifictions in the helth estblishment ct, b.e. 2559 (2016): cse study of cquitter
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis independent research essay is a case study that examines employment discrimination on the basis of criminal convictions of a service provider in health institutions based on The Health Establishment Act, B.E. 2559 The study shows that the act - The Health Establishment Act, B.E. 2559 - discriminates on the basis of criminal convictions by prohibiting those who have been convicted of a crime or those with a criminal record of any kind from registering as service providers in health services establishments in order to prevent business fronting and to convey accountability. Department of Correction, as main intervention dedicated to enhancing public safety by providing inmates with the tools and opportunities they need to successfully re-enter their communities, develops a vocational training program to help ex-convicts re-entering society and grossing a small fund for themselves. The program provides selected inmates with a fully certified standard curriculum of Thai massage. Inmates who have completed the training is granted a certificate guaranteed by the government of their skill. However, the program is only successful within the walls of penitentiary because the Health Establishment Act, B.E. 2559 forbids those who have been convicted of a crime or those with a criminal record of any kind from registering as service providers in health establishments. So, in reality, none of the certified ex-convicts or acquitters can enter this sector of workforce which makes the inmates vocational training program an unproductive effort. From the problem, I propose an annulment of employment discrimination on the basis of criminal convictions and acquiescent conditions regarding release period. As for certified ex-convicts or acquitters who has been released for the period less than 1 year, in order to generate assurance and trust from clients, I advise a throughout invigilate or a conduct control by authorized agency
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineกฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56921195.pdf1.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น