กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8071
ชื่อเรื่อง: เซลล์สร้างเมือกและโปรตีนที่พบในเมือกของหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) และการตอบสนองต่อสารดีดีที (ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mucous cell nd proteome profile of mucosl secretion in the hooded oyster (sccostre cucullt) nd their responses to ddt (dichlorodiphenyl trichloroethne)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทิน กิ่งทอง
ปาริชาต สิงห์โตทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: หอยนางรมปากจีบ
เซลล์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เมือกหลั่งจากเซลล์สร้างเมือก ในหอยสองฝาเมือกมีความสำคัญในการดักจับอนุภาคอาหารและมีปฏิสัมพันธ์กับจุลินทรีย์ที่มากับน้ำ และอาจมีความสำคัญต่อการป้องกันตัวจากสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำอีกด้วยแม้จะมีรายงานการศึกษาโครงสร้างของเซลล์สร้างเมือกบริเวณเนื้อเยื่อแมนเทิลในหอยบางชนิด แต่ยังไม่พบการศึกษาในหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) งานวิจัยนี้จึงใช้เทคนิคทางมิญชวิทยาศึกษาโครงสร้างของเซลล์สร้างเมือกบริเวณแมนเทิลและใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ศึกษาโปรตีนที่หลังออกมาในเมือก นอกจากนี้ยังศึกษาบทบาทของเซลล์สร้างเมือกและเมือกต่อการป้องกันตัวจากสารเคมีปนเปื้อนดีดีทีซึ่งเป็นสารพิษที่สะสมในระบบนิเวศทางทะเลผลการศึกษาพบเซลล์สร้างเมือกจำนวนมากแทรกอยู่ภายในเนื้อเยื่อบุผิวของแมนเทิล ภายในเซลล์สร้างเมือกพบนิวเคลียสที่บริเวณฐานของเซลล์และพบมิวซินแกรนูลจำนวนมากในไซโทพลาซึม ผลการทดสอบด้วยสารดีดีทีพบว่าสารดีดีทีส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและกระตุ้นการสร้างเซลล์สร้างเมือกบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวเพิ่มขึ้น ผลการวิเคราะห์โปรตีนด้วยเทคนิคเจลสองมิติพบว่าสารดีดีทีส่งผลต่อปริมาณโปรตีนที่พบในเซลล์สร้างเมือกของกลุ่มทดสอบเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) รวม 14 จุด สามารถระบุชนิดโปรตีนในกลุ่มนี้ได้ 4 จุด โดยพบ สารดีดีทีกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีน 3 ชนิด ได้แก่ Immunoglobulin kappa constant, Actin และSarcoplasmic calcium-binding protein และลดการแสดงออกของโปรตีน Serum albumin แสดงให้เห็นว่าสารดีดีทีนอกจากจะกระตุ้นเซลล์สร้างเมือกและการหลั่งเมือกแล้วยังมีผลต่อโปรตีนในเมือกอีกด้วยผลจากการศึกษาในครั้งนี้ยืนยันว่านอกจากการดักจับอาหารแล้ว เมือกยังมีความสำคัญต่อกลไกการป้องกันตัวของหอยนางรมจากสารเคมีในน้ำอีกด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8071
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น