กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8071
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุทิน กิ่งทอง
dc.contributor.authorปาริชาต สิงห์โตทอง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:54:23Z
dc.date.available2023-05-12T06:54:23Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8071
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractเมือกหลั่งจากเซลล์สร้างเมือก ในหอยสองฝาเมือกมีความสำคัญในการดักจับอนุภาคอาหารและมีปฏิสัมพันธ์กับจุลินทรีย์ที่มากับน้ำ และอาจมีความสำคัญต่อการป้องกันตัวจากสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำอีกด้วยแม้จะมีรายงานการศึกษาโครงสร้างของเซลล์สร้างเมือกบริเวณเนื้อเยื่อแมนเทิลในหอยบางชนิด แต่ยังไม่พบการศึกษาในหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) งานวิจัยนี้จึงใช้เทคนิคทางมิญชวิทยาศึกษาโครงสร้างของเซลล์สร้างเมือกบริเวณแมนเทิลและใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ศึกษาโปรตีนที่หลังออกมาในเมือก นอกจากนี้ยังศึกษาบทบาทของเซลล์สร้างเมือกและเมือกต่อการป้องกันตัวจากสารเคมีปนเปื้อนดีดีทีซึ่งเป็นสารพิษที่สะสมในระบบนิเวศทางทะเลผลการศึกษาพบเซลล์สร้างเมือกจำนวนมากแทรกอยู่ภายในเนื้อเยื่อบุผิวของแมนเทิล ภายในเซลล์สร้างเมือกพบนิวเคลียสที่บริเวณฐานของเซลล์และพบมิวซินแกรนูลจำนวนมากในไซโทพลาซึม ผลการทดสอบด้วยสารดีดีทีพบว่าสารดีดีทีส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและกระตุ้นการสร้างเซลล์สร้างเมือกบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวเพิ่มขึ้น ผลการวิเคราะห์โปรตีนด้วยเทคนิคเจลสองมิติพบว่าสารดีดีทีส่งผลต่อปริมาณโปรตีนที่พบในเซลล์สร้างเมือกของกลุ่มทดสอบเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) รวม 14 จุด สามารถระบุชนิดโปรตีนในกลุ่มนี้ได้ 4 จุด โดยพบ สารดีดีทีกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีน 3 ชนิด ได้แก่ Immunoglobulin kappa constant, Actin และSarcoplasmic calcium-binding protein และลดการแสดงออกของโปรตีน Serum albumin แสดงให้เห็นว่าสารดีดีทีนอกจากจะกระตุ้นเซลล์สร้างเมือกและการหลั่งเมือกแล้วยังมีผลต่อโปรตีนในเมือกอีกด้วยผลจากการศึกษาในครั้งนี้ยืนยันว่านอกจากการดักจับอาหารแล้ว เมือกยังมีความสำคัญต่อกลไกการป้องกันตัวของหอยนางรมจากสารเคมีในน้ำอีกด้วย
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectหอยนางรมปากจีบ
dc.subjectเซลล์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
dc.titleเซลล์สร้างเมือกและโปรตีนที่พบในเมือกของหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) และการตอบสนองต่อสารดีดีที (ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน)
dc.title.alternativeMucous cell nd proteome profile of mucosl secretion in the hooded oyster (sccostre cucullt) nd their responses to ddt (dichlorodiphenyl trichloroethne)
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeMucus is secreted from mucous cells. In bivalves, mucus plays important roles in filtering food particles and interacts with waterborne microorganisms. It may also have a protective role to polluted chemicals in water. Although the studies of mucous cell structure in mantle of few species have been reported, none has been conducted in the Hooded oyster (Saccostrea cucullata). This work aimed to investigate structure and chemical properties of mucous cell in mantle tissue by using histological techniques. Secreted proteins in mucus were also explored by using proteomic technique. Additionally, protective role of mucous cell and mucus to DDT a polluted chemical in marine environment was also studied. Results showed that the mucous cells were distributed in mantle epithelia. Within mucous cell, nucleus was found at the basement of cell and numerous mucin granules were found in cytoplasm. DDT affected oyster tissue and increased number of mucous cell in mantle. While 2-DE based proteomic results showed that exposure to DDT significantly altered 14 proteins in mucus of treated group compared to the controls (p<0.05). Unfortunately, only 4 up-regulated protein spots were successfully identified. The 3 up-regulated proteins were Immunoglobulin kappa constant, Actin and Sarcoplasmic calcium-binding protein while and 1 regulated, Serum albumin was observed. DDT was found to increase number of mucous cell and mucus secretion. Overall, this study confirmed that mucus is not only important for filter feeding but also play an important role to protect oyster from marine environmental pollutant.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineชีววิทยาศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น