กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7961
ชื่อเรื่อง: การตรวจวัดการปนเปื้อนของสารประกอบบิวทิลทิน (BTs) ในหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis บริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mesurement of butyltin compounds (bts) contmintion in green mussel (pern viridis) from thilnd’s costs
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาภาพร บุญมี
กิตติยา เชียร์แมน
สุทิน กิ่งทอง
ชนพพล กลิ่นกลบ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: บิวทิลทิน
โมโนบิวทิลทิน
ไตรบิวทิลทิน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Science and Technology
ไดบิวทิลทิน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารประกอบบิวทิลทิน (butyltin compounds; BTs) ที่ประกอบด้วยไตรบิวทิลทิน (tributyltin; TBT) ไดบิวทิลทิน (dibutyltin; DBT) และโมโนบิวทิลทิน (monobutytin; MBT) ในหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis ในบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย เพื่อศึกษาแนวโน้มการปนเปื้อนสารประกอบบิวทิลทินในประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยทำการเก็บตัวอย่างหอยแมลงภู่และทำให้แห้งเพื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณการสะสมของสารประกอบบิวทิลทินในเนื้อเยื่อ โดยใช้เทคนิคนิคการสกัดแบบ solid-liquid extraction (SLE) และใช้ sodium tetraethylborate (NaB(Et)4 ) เป็นตัวทำปฏิกิริยาเพื่อให้เกิดอนุพันธ์ของสารประกอบบิวทิลทิน และวิเคราะห์ปริมาณสารที่พบด้วยเครื่อง gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) ผลการศึกษาพบว่า ผลรวมของสารประกอบบิวทิลทินอยู่ระหว่าง 0.97 -262.17 ng/g ของน้ำหนักแห้งแบ่งเป็นอนุพันธ์ไตรบิวทิลทิน ไดบิวทิลทิน และโมโนบิวทิลทินอยู่ระหว่าง 0.68 -4.49, 0.95 -262.17 และ 1.85 ng/g dry wt. ตามลำดับ โดยพบการปนเปื้อนของอนุพันธ์ไดบิวทิลทินในเนื้อเยื่อสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาครั้งนี้กับอดีตซึ่งเคยมีรายงานการปนเปื้อนของสารประกอบบิวทิลทินในหอยแมลงภู่ในปี พ.ศ. 2537- 2538 พบว่า แนวโน้มการปนเปื้อนลดลงและพบว่า สารประกอบบิวทิลทินมีอัตราการสลายตัว (butyltin degradation index; BDI) สูงขึ้น ผลการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับรายงานการศึกษาในหลายภูมิภาคอื่นที่มีแนวโน้มอัตราการสลายตัวเพิ่มขึ้นแต่อย่างไรก็ดียังสามารถตรวจพบการสะสมของสารประกอบบิวทิลทินในเนื้อเยื่อสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งในบางภูมิภาคของโลกในปริมาณที่สูง ดังนั้นจึงควรมีการติดตามตรวจสอบต่อไปในอนาคต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7961
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น