กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7947
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่นของตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strtegies nd methods of entry into locl government ofpoliticl cln in chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพฑูรย์ โพธิสว่าง
มีลักษณ์ ชัยกิตติเจริญวุฒิ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
ผู้นำชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์และวิธีการเข้าสู่ตําแหน่งผู้นําองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นของตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรีและเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตําแหน่งผู้นําองค์กรปกครองท้องถิ่นของตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ผลการวิจัยพบว่ากลยุทธ์ของผู้สมัครตระกูลการเมือง คือ การเจาะลึกข้อมูลแต่ละพื้นที่เพื่อนําพามาเป็นนโยบาย ส่วนวิธีการเข้าสู่ตําแหน่งทางการเมืองของผู้สมัครตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรี คือ ผลงานที่ผ่านมา การสนับสนุนจากฐานเสียง คุณสมบัติและลักษณะส่วนตัว หัวคะแนน หรือคนที่ไว้ใจ การเข้าพบปะประชาชนและความเป็นกันเอง และการมีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ ผู้วิจัยได้นําข้อมูลที่ได้จากผู้สมัครตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรีมาสร้างเป็น แบบสอบถาม แล้วนํามาสร้างเป็นสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ทราบว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครตระกูลการเมืองในจังหวัดชลบุรีเพื่อสนับสนุนงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดชลบุรี จํานวน 400 คน นํามาวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) กําหนดนัยสําคัญทางสถิติไว้ที่ .05 เพื่อตอบวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมีอยู่ 4 ปัจจัย ซึ่งมีความสําคัญแตกต่างกันลดหลั่นกันลงมา กล่าวคือ ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผลงานที่ผ่านมา (Past performance) รองลงมาคือ กลยุทธ์และวิธีการหาเสียง (Campaign strategy) แกนนําหรือหัวคะแนน (Canvasser) และระบบอุปถัมภ์และเครือญาติ (Patronage & Clientelism) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการดังนี้ Obtaining the vote= 2.130+.429Past Performance+.188 Canvasser +.214 Campaign Strategy +.177Patronage & Clientelism
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7947
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น