กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7934
ชื่อเรื่อง: | ปัญหากฎหมายในการจัดการขยะในลักษณะเปิด : ศึกษากรณีไฟไหม้บ่อขยะ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legl issues in wste mngement in n open mnner: cse study on fire junk yrd |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัชนี แตงอ่อน สุชาติ เดชพิทักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ขยะ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ขยะ -- การจัดการ Humanities and Social Sciences มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา กฎหมาย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง ปัญหากฎหมายในการจัดการขยะในลักษณะเปิด: ศึกษากรณีไฟไหม้บ่อขยะ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายในการจัดการขยะในลักษณะเปิด: ศึกษากรณีไฟไหม้บ่อขยะ 2. เพื่อศึกษาแนวความคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม กรณีบ่อขยะ 4. เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายสิ่งแวดล้อม กรณีศีกษาไฟไหม้บ่อขยะ 5. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมายในการจัดการขยะในลักษณะเปิดของในประเทศและต่างประเทศ สามารถสรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษา พบว่า การบังคับใช้กฎหมายและการดําเนินการตาม มาตรา 80 แห่ง พระราชบัญญัติด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ยังไม่มีความ เหมาะสมและยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่จากผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนของเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกําเนิดมลพิษ, หน้าที่ของพนักงานท้องถิ่น, อํานาจและการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ดังนั้นจึงควรแก้ไขดังนี้ 1. กําหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานควบคุม มลพิษ โดยแบ่งระดับเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงานและระดับสั่งการ 2.กําหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ดําเนินงาน 3.กําหนดให้คณะอนุกรรมการประสาน การจัดการสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม วินิจฉัยชี้ขาด ข้อขัดแย้งระหว่างเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษกับพนักงานเจ้าหน้าที่ 4.ยกเลิกประกาศ กระทรวงเกี่ยวกับการแต่งตั้ง เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย 5.กําหนดเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่จะเป็นผู้รับรายงานตามมาตรา 80 ให้ชัดเจน 6.กําหนดให้อํานาจเจ้าพนักงานตามกฎหมายอื่นที่มีอํานาจควบคุมดูแลแหล่งกําเนิดมลพิษสามารถสั่งปิด พักใช้ เพิกถอน ในอนุญาตหรือสั่งให้หยุดใช้หรือทําประโยชน์เกี่ยวกับแหล่งกําเนิดมลพิษด้วยเหตุที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านสิ่งแวดล้อมได้ และ 7. เพิ่มบทลงโทษทางอาญาในกรณีที่ฝ่าฝืนคําสั่งตามมาตรา 82 (2) และ 8.กําหนดให้คณะกรรมการควบคุมมลพิษแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเฉพาะด้านทําหน้าที่พิจารณาคําร้องคัดค้านคําสั่งเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษในเบื้องต้น |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7934 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น