กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7932
ชื่อเรื่อง: ปัญหาความรับผิดทางอาญาของครูอาจารย์กรณีการลงโทษนักเรียนนักศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of criminl libility of techers in cse of punishing student
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรรัมภา ไวยมุกข์
วรวุฒิ ดำขำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
Humanities and Social Sciences
ความผิดทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความรับผิดทางอาญาของครูอาจารย์จากการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่กระทําผิดหรือประพฤติผิดระเบียบวินัยด้วยวิธีการที่กําหนดไว้ตามระเบียบหรือด้วยวิธีการอื่นใด โดยศึกษาการลงโทษนักเรียนนักศึกษาของครูอาจารย์เปรียบเทียบองค์ประกอบความผิดตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาและตามทฤษฎีความรับผิดทางอาญาทั้งของไทยและของต่างประเทศที่สําคัญ และยังศึกษาถึงช่องว่างของกฎหมายเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่ประพฤติผิดระเบียบหรือข้อบังคับของครูอาจารย์ตามสมควรเพื่อการอบรมสั่งสอนด้วยวิธีการที่กําหนดไว้ตามระเบียบหรือด้วยวิธีการอื่นใดล้วนครบองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา แต่ถึงแม้นว่าการลงโทษนักเรียนนักศึกษาของครู อาจารย์จะเข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญาและการลงโทษนักเรียนนักศึกษาโดยใช้อํานาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคมก็ตาม แต่รัฐก็มีความจําเป็นต้องเลือกเอาความมั่นคงของรัฐด้านการศึกษากับสวัสดิภาพของเด็กที่ประพฤติตัวไม่เรียบร้อย ผิดระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนหรือสถานศึกษา ร่วมพิจารณากําหนดแนวนโยบายด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าผลดีของการใช้อํานาจนิยม และการใช้ความรุนแรงกับเด็กนักเรียนนักศึกษาบางกลุ่มนั้นยังมีผลดีต่อสังคมมากกว่าการปล่อยปะละเลยโดยอ้างเหตุจากสิทธิเด็กเป็นสําคัญ และการลงโทษนักเรียนนักศึกษาเป็นไปเพื่อการอบรมสั่ง สอนมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรม สั่งสอน ขัดเกลาจิตใจให้นักเรียนนักศึกษา รู้สํานึกในความผิดและกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีเกิดจากความตั้งใจให้นักเรียนนักศึกษาเป็นคนดีเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ปราศจากความชั่วร้ายเปรียบได้กับกรณีการุณยฆาต หรือ Mercy Killing ปราศจากความชั่วร้าย มีลักษณะใกล้เคียงกับองค์ประกอบความผิดภายในของกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) ในส่วนที่เรียกว่า Mens rea หรือเจตนาร้าย โดยอาศัยอํานาจแห่งความยินยอมของบิดา มารดาหรือผู้ปกครองอันเป็นความยินยอมที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีขั้นพื้นฐาน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7932
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น