Abstract:
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความรับผิดทางอาญาของครูอาจารย์จากการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่กระทําผิดหรือประพฤติผิดระเบียบวินัยด้วยวิธีการที่กําหนดไว้ตามระเบียบหรือด้วยวิธีการอื่นใด โดยศึกษาการลงโทษนักเรียนนักศึกษาของครูอาจารย์เปรียบเทียบองค์ประกอบความผิดตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาและตามทฤษฎีความรับผิดทางอาญาทั้งของไทยและของต่างประเทศที่สําคัญ และยังศึกษาถึงช่องว่างของกฎหมายเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่ประพฤติผิดระเบียบหรือข้อบังคับของครูอาจารย์ตามสมควรเพื่อการอบรมสั่งสอนด้วยวิธีการที่กําหนดไว้ตามระเบียบหรือด้วยวิธีการอื่นใดล้วนครบองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา แต่ถึงแม้นว่าการลงโทษนักเรียนนักศึกษาของครู อาจารย์จะเข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญาและการลงโทษนักเรียนนักศึกษาโดยใช้อํานาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคมก็ตาม แต่รัฐก็มีความจําเป็นต้องเลือกเอาความมั่นคงของรัฐด้านการศึกษากับสวัสดิภาพของเด็กที่ประพฤติตัวไม่เรียบร้อย ผิดระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนหรือสถานศึกษา ร่วมพิจารณากําหนดแนวนโยบายด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าผลดีของการใช้อํานาจนิยม และการใช้ความรุนแรงกับเด็กนักเรียนนักศึกษาบางกลุ่มนั้นยังมีผลดีต่อสังคมมากกว่าการปล่อยปะละเลยโดยอ้างเหตุจากสิทธิเด็กเป็นสําคัญ และการลงโทษนักเรียนนักศึกษาเป็นไปเพื่อการอบรมสั่ง สอนมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรม สั่งสอน ขัดเกลาจิตใจให้นักเรียนนักศึกษา รู้สํานึกในความผิดและกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีเกิดจากความตั้งใจให้นักเรียนนักศึกษาเป็นคนดีเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ปราศจากความชั่วร้ายเปรียบได้กับกรณีการุณยฆาต หรือ Mercy Killing ปราศจากความชั่วร้าย มีลักษณะใกล้เคียงกับองค์ประกอบความผิดภายในของกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) ในส่วนที่เรียกว่า Mens rea หรือเจตนาร้าย โดยอาศัยอํานาจแห่งความยินยอมของบิดา มารดาหรือผู้ปกครองอันเป็นความยินยอมที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีขั้นพื้นฐาน