DSpace Repository

ปัญหาความรับผิดทางอาญาของครูอาจารย์กรณีการลงโทษนักเรียนนักศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรรัมภา ไวยมุกข์
dc.contributor.author วรวุฒิ ดำขำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:14:54Z
dc.date.available 2023-05-12T06:14:54Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7932
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความรับผิดทางอาญาของครูอาจารย์จากการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่กระทําผิดหรือประพฤติผิดระเบียบวินัยด้วยวิธีการที่กําหนดไว้ตามระเบียบหรือด้วยวิธีการอื่นใด โดยศึกษาการลงโทษนักเรียนนักศึกษาของครูอาจารย์เปรียบเทียบองค์ประกอบความผิดตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาและตามทฤษฎีความรับผิดทางอาญาทั้งของไทยและของต่างประเทศที่สําคัญ และยังศึกษาถึงช่องว่างของกฎหมายเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่ประพฤติผิดระเบียบหรือข้อบังคับของครูอาจารย์ตามสมควรเพื่อการอบรมสั่งสอนด้วยวิธีการที่กําหนดไว้ตามระเบียบหรือด้วยวิธีการอื่นใดล้วนครบองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา แต่ถึงแม้นว่าการลงโทษนักเรียนนักศึกษาของครู อาจารย์จะเข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญาและการลงโทษนักเรียนนักศึกษาโดยใช้อํานาจจะก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคมก็ตาม แต่รัฐก็มีความจําเป็นต้องเลือกเอาความมั่นคงของรัฐด้านการศึกษากับสวัสดิภาพของเด็กที่ประพฤติตัวไม่เรียบร้อย ผิดระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนหรือสถานศึกษา ร่วมพิจารณากําหนดแนวนโยบายด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าผลดีของการใช้อํานาจนิยม และการใช้ความรุนแรงกับเด็กนักเรียนนักศึกษาบางกลุ่มนั้นยังมีผลดีต่อสังคมมากกว่าการปล่อยปะละเลยโดยอ้างเหตุจากสิทธิเด็กเป็นสําคัญ และการลงโทษนักเรียนนักศึกษาเป็นไปเพื่อการอบรมสั่ง สอนมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรม สั่งสอน ขัดเกลาจิตใจให้นักเรียนนักศึกษา รู้สํานึกในความผิดและกลับมาประพฤติตนในทางที่ดีเกิดจากความตั้งใจให้นักเรียนนักศึกษาเป็นคนดีเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ปราศจากความชั่วร้ายเปรียบได้กับกรณีการุณยฆาต หรือ Mercy Killing ปราศจากความชั่วร้าย มีลักษณะใกล้เคียงกับองค์ประกอบความผิดภายในของกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) ในส่วนที่เรียกว่า Mens rea หรือเจตนาร้าย โดยอาศัยอํานาจแห่งความยินยอมของบิดา มารดาหรือผู้ปกครองอันเป็นความยินยอมที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีขั้นพื้นฐาน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.subject Humanities and Social Sciences
dc.subject ความผิดทางอาญา
dc.title ปัญหาความรับผิดทางอาญาของครูอาจารย์กรณีการลงโทษนักเรียนนักศึกษา
dc.title.alternative Problems of criminl libility of techers in cse of punishing student
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to investigate the criminal liability of teachers by punishing students who commit wrongdoing or misbehaving in a prescribed manner in accordance with regulations or any other means. A study of the punishment of student teachers' teachers compares the criminal offense elements according to the criminal liability structure and the criminal liability theory of both Thailand and foreign countries. They also study the gaps in the law to suggest ways to amend the law to be clear. More appropriate The study found that the punishment of students for misconduct or the regulations of teachers, as appropriate, for instruction in a prescribed manner in accordance with the rules or by any other means are entirely criminal element. But even if the punishment of student teachers is punishable by criminal offenses and the punishment of students by the authorities will cause violence in society. But the state has a need to choose the security of the state of education and the welfare of children who behave inappropriately. The regulations of schools or schools jointly determine the policy. When considered, the benefits ofusing power and violence against some of the students are more socially beneficial than ignoring the claims of child rights. And to punish the students for the training is intended for the training of refining the mind to students. Know the fault and return to behave in a good way. It is the intention of the students to be good, pure intentions, without evil, comparable to the case of Mercy Killing without evil. It is similar to the domestic law of Common Law in the so-called mens rea or malicious intent. By virtue of the consent of parents or guardians, the consent is not a violation of basic morals.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account