กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7931
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ศึกษากรณีการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legl mesure ginst humn trfficking : cse study of liensressidence notifiction ccording to section 38 of immigrtion ct b.e.2522
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประลอง ศิริภูล
ฐาปนิทธิ์ พันธุ์ดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การค้ามนุษย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การค้ามนุษย์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
Humanities and Social Sciences
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การค้ามนุษย์ในปัจจุบันเป็นปัญหาอาชญากรรมที่มีความร้ายแรงและมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งหลาย ๆ ประเทศให้ความสําคัญโดยพยายามนํามาตรการต่าง ๆ มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียนตามสภาพภูมิศาสตร์เป็นทั้งแหล่งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของการค้ามนุษย์ ดังนั้น จําเป็นที่ประเทศไทยต้องนํามาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ มาใช้บังคับให้มีประสิทธิภาพรวมกับกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีความสลับซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 เป็นกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งมีโทษทางอาญาและนํามาเป็นมาตรการหนึ่งในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวตามมาตรา 38 เพราะสิ่งที่จําเป็นสําหรับคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย คือ ที่พักอาศัย หากเจ้าบ้าน เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรม ซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งรับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการ ชั่วคราวเข้าพักอาศัยได้ทําการแจ้งที่พักอาศัยตามที่กฎหมายกําหนด ย่อมทําให้เจ้าหน้าที่ทราบสถานที่พักหรือเคย พักของคนต่างด้าว หากละเว้นไม่แจ้งย่อมได้รับโทษ แต่บทบัญญัติของการแจ้งที่พักอาศัยยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องของสถานที่ซึ่งเป็นโรงแรมและสถานะบุคคลซึ่งเป็นผู้จัดการโรงแรม อาจไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย คนเข้าเมืองที่ให้หมายถึงสถานที่พักที่รับคนต่างด้าวเข้าพักโดยได้รับสินจ้าง แต่มีข้อความบัญญัติต่อไปอีกว่าตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม จึงต้องไปพิจารณาความหมายของคําว่า “โรงแรม”ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ทําให้เกิดความไม่ชัดเจนว่าสถานที่พักอื่นซึ่งรับคนเข้าพักโดยได้รับสินจ้างแต่ไม่จดทะเบียนเป็นโรงแรม หรือไม่ อยู่ในความหมายโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม หรือจดทะเบียนตามกฎหมายอื่นต้องทําการแจ้งที่พักอาศัยในฐานะเจ้าบ้าน เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเคหะสถาน หรือในฐานะผู้จัดการโรงแรม ซึ่งมีอัตราโทษปรับที่ แตกต่างกัน นอกจากนี้ บทลงโทษผู้กระทําความผิดซึ่งมีเพียงการปรับในอัตราซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่คดีสามารถเลิกกัน ได้ด้วยการเปรียบเทียบปรับทําให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ดําเนินการสืบสวนสอบสวนต่อในกรณีที่อาจมีความ เชื่อมโยงกับการค้ามนุษย์ ส่งผลในการนํามาตรการการแจ้งที่พักอาศัยคนต่างด้าวมาเป็นมาตรการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ไม่บรรลุผล ดังนั้น จึงควรศึกษาถึงปัญหาความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติดังกล่าวและปัญหาที่เกิดจากบทลงโทษผู้กระทําความผิดเพื่อนํามาแก้ไขปรับปรุงเพื่อเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกัน ปราบปรามการค้ามนุษย์ต่อไป
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7931
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น