กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7870
ชื่อเรื่อง: | ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อข้อความภาษาไทยและเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effect of gender nd personlity differences in young dults on the emotionl rousl of thi texts nd digitized sounds: behviorl nd event-relted potentil study |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อุุทัยพร ไก่แก้ว เสรี ชัดแช้ม ปิยธิดา รัตนคุณ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | สมอง อารมณ์ อารมณ์ในผู้สูงอายุ Humanities and Social Sciences คลื่นไฟฟ้า มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | บุคคลที่มีบุคลิกภาพและเพศแตกต่างกัน เมื่อมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ด้านการตื่นตัว มีอารมณ์ลักษณะตื่นเต้นและลักษณะสงบแตกต่างกัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้าน การตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านการตื่นตัวในเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองขณะ มองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว จำแนกตามเพศ และบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นกิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (SAM) ด้านการตื่นตัว และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง NeuroScan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-Way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้าน การตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 12 สิ่งเร้า จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือ ลักษณะตื่นเต้นและลักษณะสงบ 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพเปิดเผยมีอารมณ์ด้านการตื่นตัวในลักษณะตื่นเต้นมากกว่าบุคลิกภาพกลาง ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะตื่นเต้นและลักษณะสงบ ระหว่างผู้ที่มีบุคลิกภาพเปิดเผยและกลาง ๆ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F3 และ F4 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและบุคลิกภาพที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F3 F4 F7 F8 และ FZ ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง C3 C4 CP3 และ CP4 ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ (Temporal Lobe) ที่ตำแหน่ง T7 T8 TP7 และ TP8 และที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง PO3 PO4 และ POZ สรุปได้ว่า ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพต่างกัน ขณะมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวลักษณะตื่นเต้น มีอารมณ์ด้านการตื่นตัวลักษณะตื่นเต้นแตกต่างกัน |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7870 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น