กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7870
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอุุทัยพร ไก่แก้ว
dc.contributor.advisorเสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.authorปิยธิดา รัตนคุณ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:57Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:57Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7870
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractบุคคลที่มีบุคลิกภาพและเพศแตกต่างกัน เมื่อมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ด้านการตื่นตัว มีอารมณ์ลักษณะตื่นเต้นและลักษณะสงบแตกต่างกัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้าน การตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านการตื่นตัวในเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองขณะ มองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว จำแนกตามเพศ และบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นกิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว มาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (SAM) ด้านการตื่นตัว และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง NeuroScan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-Way ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้าน การตื่นตัวในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 12 สิ่งเร้า จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือ ลักษณะตื่นเต้นและลักษณะสงบ 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพเปิดเผยมีอารมณ์ด้านการตื่นตัวในลักษณะตื่นเต้นมากกว่าบุคลิกภาพกลาง ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว ลักษณะตื่นเต้นและลักษณะสงบ ระหว่างผู้ที่มีบุคลิกภาพเปิดเผยและกลาง ๆ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F3 และ F4 และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและบุคลิกภาพที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F3 F4 F7 F8 และ FZ ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง C3 C4 CP3 และ CP4 ที่บริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ (Temporal Lobe) ที่ตำแหน่ง T7 T8 TP7 และ TP8 และที่บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง PO3 PO4 และ POZ สรุปได้ว่า ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพต่างกัน ขณะมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัล ที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัวลักษณะตื่นเต้น มีอารมณ์ด้านการตื่นตัวลักษณะตื่นเต้นแตกต่างกัน
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectสมอง
dc.subjectอารมณ์
dc.subjectอารมณ์ในผู้สูงอายุ
dc.subjectHumanities and Social Sciences
dc.subjectคลื่นไฟฟ้า
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.titleผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อข้อความภาษาไทยและเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการตื่นตัว : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
dc.title.alternativeThe effect of gender nd personlity differences in young dults on the emotionl rousl of thi texts nd digitized sounds: behviorl nd event-relted potentil study
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe different gender and personality of the person while looking at Thai texts and listening to digitized sounds which stimulated emotions arousal affected differently excited and calm emotions. The purposes of this research were to design experimental activities of looking at Thai texts and listening to digitized sounds which stimulated emotions arousal in young adults and to study the emotions arousal concerning behavior and event-related potential studies between gender and personality of the participants while looking at Thai texts and listening to digitized sounds. The participants were 80 students from Rajamangala University of Technology Tawan-OK Bangpha Campus in the academic year 2017. The instruments used in this research consisted of the activities of looking at Thai texts and listening to digitized sounds which stimulated emotions arousal, Self-Assessment Manikin (SAM), and NeuroScan system. The data were analyzed by Two-way ANOVA. The research results were as follows: 1. The activities of looking at Thai texts and listening to digitized sounds consisted of 2 blocks; each blocks of 12 stimulus which were excited and calm emotions. 2. The young adults who has extravert personality showed the excited emotion more than ambivert personality with statistically significant at .05 level. 3. The brainwaves in young adults while looking at Thai texts and listening to digitized sounds which stimulated arousal emotion (excited and calm) between extravert and embivert personalities were significant different (p<.05) in Frontal Lobe at positions F3 and F4, the interaction between gender and personality was in Frontal lobe at positions F3, F4, F7, F8, and FZ, Parietal Lobe was at positions C3, C4, CP3, and CP4, Temporal Lobe was at T7, T8, TP7, and TP8, and Occipital Lobe was at positions PO3 PO4 and POZ. It may be concluded that there was arousal emotion; excited difference while young adults with different personality were looking at Thai texts and listening to digitized sounds on arousal emotion; excited.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น