กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7836
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมจากการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยวิธีการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ (FCAW)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on the effect of crcon footprint chnge on wellhed pltform fbriction from development of flux-cored rc welding process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิณี ศักดิ์สุนทรศิริ
ชัชวาลย์ ทิพย์วงษ์ทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: คาร์บอนฟุตพริ้นท์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ปิโตเลียม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการพัฒนากระบวนการเชื่อมที่มีผลต่อการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากวัฏจักรชีวิตของการผลิตแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมแบบหลุมผลิต ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินปริมาณการปล่อย CO2 ของงานเชื่อมในการผลิตแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมแบบหลุมผลิตในการเชื่อมแบบเดิม เปรียบเทียบกับการเชื่อมฟลักซ์คอร์ (FCAW) พบว่า ผลการประเมิน คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม ขนาด 1,258 ตัน ด้วยวิธีการประเมินแบบ Combined IOA-PCA ในการปล่อย CO2 โดยใช้ emission factor ของวัตถุดิบหลักคือเหล็กจากผลการศึกษา LCA ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่ใช้จริงของผลิตภัณฑ์นี้ พบว่า การเชื่อมแบบ SMAW มีการปล่อย CO2 สูงกว่า แบบ SMAW + FCAW เมื่อคิดประมาณการค่าร้อยละที่ลดลง จะเห็นว่าลดลง 1.26% ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงงานเชื่อมที่สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนจกให้กับสภาพแวดล้อมลงได้แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า แนวทางหนึ่งที่ช่วยลด CO2 ลงได้ ซึ่งเป็นแบบที่ควรเลือกใช้ในงานเชื่อมแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมกับงบประมาณที่ต้องเสียแล้วคุ้มค่ากว่าอาจจำเป็นต้องหาเทคโนโลยีตัวใหม่แต่อาจมีข้อเสียคือค่าเครื่องเชื่อมมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นจะต้องพิจารณาถึงคุณภาพ ระยะการบำรุงรักษาที่ยาวนาน ความชำนาญของบุคลากรในการเชื่อม และปริมาณความร้อนที่สะสม และปัจจัยอื่น ๆ ร่วม เพื่อสามารถเพิ่มโอกาสที่ดีในการเชื่อม และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ทั้งนี้หากเลือกใช้ Emission factor ของเหล็กที่ประเมินจาก IOA ของประเทศไทยพบว่า การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากวัฏจักรชีวิตของแท่นขุดเจาะสูงกว่ามากจะทำให้ผลงานวิจัยที่ได้มามีค่าคลาดเคลื่อนสูง ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกใช้ค่า Emission factor จากแหล่งผลิตที่ตรงกับวัตถุดิบที่ใช้จริง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7836
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น