กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7836
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภาวิณี ศักดิ์สุนทรศิริ
dc.contributor.authorชัชวาลย์ ทิพย์วงษ์ทอง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:12:52Z
dc.date.available2023-05-12T06:12:52Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7836
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาผลของการพัฒนากระบวนการเชื่อมที่มีผลต่อการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากวัฏจักรชีวิตของการผลิตแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมแบบหลุมผลิต ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินปริมาณการปล่อย CO2 ของงานเชื่อมในการผลิตแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมแบบหลุมผลิตในการเชื่อมแบบเดิม เปรียบเทียบกับการเชื่อมฟลักซ์คอร์ (FCAW) พบว่า ผลการประเมิน คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม ขนาด 1,258 ตัน ด้วยวิธีการประเมินแบบ Combined IOA-PCA ในการปล่อย CO2 โดยใช้ emission factor ของวัตถุดิบหลักคือเหล็กจากผลการศึกษา LCA ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่ใช้จริงของผลิตภัณฑ์นี้ พบว่า การเชื่อมแบบ SMAW มีการปล่อย CO2 สูงกว่า แบบ SMAW + FCAW เมื่อคิดประมาณการค่าร้อยละที่ลดลง จะเห็นว่าลดลง 1.26% ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงงานเชื่อมที่สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนจกให้กับสภาพแวดล้อมลงได้แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า แนวทางหนึ่งที่ช่วยลด CO2 ลงได้ ซึ่งเป็นแบบที่ควรเลือกใช้ในงานเชื่อมแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมกับงบประมาณที่ต้องเสียแล้วคุ้มค่ากว่าอาจจำเป็นต้องหาเทคโนโลยีตัวใหม่แต่อาจมีข้อเสียคือค่าเครื่องเชื่อมมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นจะต้องพิจารณาถึงคุณภาพ ระยะการบำรุงรักษาที่ยาวนาน ความชำนาญของบุคลากรในการเชื่อม และปริมาณความร้อนที่สะสม และปัจจัยอื่น ๆ ร่วม เพื่อสามารถเพิ่มโอกาสที่ดีในการเชื่อม และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ทั้งนี้หากเลือกใช้ Emission factor ของเหล็กที่ประเมินจาก IOA ของประเทศไทยพบว่า การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากวัฏจักรชีวิตของแท่นขุดเจาะสูงกว่ามากจะทำให้ผลงานวิจัยที่ได้มามีค่าคลาดเคลื่อนสูง ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกใช้ค่า Emission factor จากแหล่งผลิตที่ตรงกับวัตถุดิบที่ใช้จริง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectคาร์บอนฟุตพริ้นท์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
dc.subjectปิโตเลียม
dc.titleการศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมจากการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยวิธีการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ (FCAW)
dc.title.alternativeA study on the effect of crcon footprint chnge on wellhed pltform fbriction from development of flux-cored rc welding process
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study is about the development of welding which has an effect of carbon dioxide emission from the wellhead platform fabrication of a flux-cored arc welding process. The purpose of this study was to evaluate the amount of CO2 emission of welding process in the wellhead platform fabrication by comparing former welding method with flux-cored arc welding process (FCAW). From the evaluation of carbon footprint of the wellhead platform fabrication in the size of 1,258 tonsusing combined IOA-PCA evaluation for emitting CO2 using steel from the study of LCA in Japan as emission factor, it was found that in the SMAW welding process, more CO2 was emitted than SMAW + FCAW welding process. When calculating the reduction percentage, it was 1.26% lower. It also showed that this is another way to reduce CO2 which should be selected to use in welding process of the wellhead platform fabrication. Considering the cost, it should be worthy to get new technology. There might be a weakness as a welding machine has a fairly high price. For this reason, it is necessary to consider quality, long term maintenance, skill of the welding staff, accumulative heat, and other factors to increase good chance of welding and the effectiveness in reducing the amount of CO2 emission. However, the development of welding which can reduce the amount of CO2 emission in the environment by evaluating carbon footprint of steel from Japan as emission factor, which is the material used in the actual case. If we had used the data that assess from IOA table of steel in Thailand as emission factor in the calculation while the emission factor parameter is much higher, the result would have had high discrepancy. Therefore, we would like to recommend Japanese steel rather than Thai steel.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น