กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7729
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of communiction of dministrtors nd deprtment hed techers in ptty city 2 (chroenrtutid) school in chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุเมธ งามกนก
จรูญทรัพย์ ใจดีเย็น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้บริหารสถานศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาและ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) จังหวัดชลบุรี และ เพื่อหาแนวทางพัฒนาการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ของโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) จำนวน 60 คน ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง คิดสัดส่วนโดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (X) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า การติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้ของโรงเรียนเมืองพัทยา 2 (เจริญราษฎร์อุทิศ) จังหวัดชลบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยแบบมีระเบียบมากที่สุด รองลงมา คือ แบบสั่งการ แบบเห็นอกเห็นใจ และแบบมีชีวิตชีวา ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การติดต่อสื่อสารมีจุดด้อย ที่ต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญด้วยการสัมภาษณ์ทั้งหมด 12 ประเด็น ได้แก่ 1) มีการควบคุมติดตามนิเทศการทำงานอย่างเคร่งครัด 2) พูดตรงกับข้อมูลที่ต้องการสื่อสารในการมอบหมายงาน 3) เปิดโอกาสให้สอบถามข้อสงสัย 4) ติดต่อพูดคุยด้วยการพูดเสียงสูง-เสียงต่ำ ขึ้นลงอยู่เสมอทำให้ไม่รู้สึกน่าเบื่อ 5) มีการแสดงออกทางความรู้สึกในระดับสูง 6) สามารถพูดจูงใจได้ดีทำให้ครูมีกำลังใจในการปฏิบัติงาน 7) มีการพูดจาแบบประนีประนอม ทำให้เกิดความสบายใจในการติดต่อพูดคุย 8) สร้างบรรยากาศครอบครัวในการติดต่อสื่อสาร 9) ควบคุมติดตามงานด้วยความเห็นอกเห็นใจ เมื่อเกิดการผิดพลาด 10) ปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบวินัยที่ชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจดีในการปฏิบัติตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ 11) มักจะอ้างถึงบทลงโทษประกอบกับการออกคำสั่ง และ 12) มักจะใช้การเสนอรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรในการติดต่อสื่อสาร
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7729
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf833.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น