กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7572
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The multi-level cusl fctors ffect the socil intelligence of students in the fculty of eductions
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
ไพรัตน์ วงษ์นาม
ภัทริณี คงชู
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักศึกษาครู
ความฉลาดทางสังคม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วิทยานิพนธ์?aปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลการวัดพหุระดับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครูและเพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวนทั้งสิ้น 1,124 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นตัวแปรตาม คือ ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ตัวแปรทำนายระดับบุคคล ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู บุคลิกภาพ ความฉลาดทางอารมณ์ และความวิตกกังวล และตัวแปรทำนาย ระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปรทั้งหมดเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และวิเคราะห์สมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดพหุระดับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู พบว่า โมเดลมีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยดัชนีที่ใช้บ่งชี้ความตรงของรูปแบบผ่านเกณฑ์ทุกรายการ ดังนี้ 2 = 2.202, df = 1, p = 0.1379, CFI = 0.999, TLI = 0.994, RMSEA = 0.033, SRMR = 0.029 โดยมีค่า ICC เท่ากับ 0.014-0.103 และมีน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.628-0.997 2. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ซึ่งเป็นการวิเคราะห์พร้อมกันทั้งระดับบุคคลและระดับมหาวิทยาลัย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของรูปแบบ ได้แก่ 2 = 682.670, df = 140, p = 0.000, 2/ df = 4.87, CFI = 0.943, TLI = 0.935, RMSEA = 0.059 และ SRMR = 0.046 โดยค่า 2/ df = 4.87 แบ่งตามระดับการทำนาย ดังนี้ 2.1 ระดับบุคคล พบว่า ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความฉลาดทางอารมณ์ และได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงลบจากความวิตกกังวลทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ 1.079 ตัวแปรระดับนักศึกษาสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 46.3 2.2 ระดับมหาวิทยาลัย พบว่า ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ตัวแปรสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ 0.628 ตัวแปรระดับนักศึกษาสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 92
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7572
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น