กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7572
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.authorภัทริณี คงชู
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T04:14:51Z
dc.date.available2023-05-12T04:14:51Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7572
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลการวัดพหุระดับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครูและเพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวนทั้งสิ้น 1,124 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นตัวแปรตาม คือ ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ตัวแปรทำนายระดับบุคคล ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู บุคลิกภาพ ความฉลาดทางอารมณ์ และความวิตกกังวล และตัวแปรทำนาย ระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปรทั้งหมดเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และวิเคราะห์สมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดพหุระดับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู พบว่า โมเดลมีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยดัชนีที่ใช้บ่งชี้ความตรงของรูปแบบผ่านเกณฑ์ทุกรายการ ดังนี้ 2 = 2.202, df = 1, p = 0.1379, CFI = 0.999, TLI = 0.994, RMSEA = 0.033, SRMR = 0.029 โดยมีค่า ICC เท่ากับ 0.014-0.103 และมีน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.628-0.997 2. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ซึ่งเป็นการวิเคราะห์พร้อมกันทั้งระดับบุคคลและระดับมหาวิทยาลัย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของรูปแบบ ได้แก่ 2 = 682.670, df = 140, p = 0.000, 2/ df = 4.87, CFI = 0.943, TLI = 0.935, RMSEA = 0.059 และ SRMR = 0.046 โดยค่า 2/ df = 4.87 แบ่งตามระดับการทำนาย ดังนี้ 2.1 ระดับบุคคล พบว่า ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความฉลาดทางอารมณ์ และได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงลบจากความวิตกกังวลทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ 1.079 ตัวแปรระดับนักศึกษาสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 46.3 2.2 ระดับมหาวิทยาลัย พบว่า ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ตัวแปรสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ 0.628 ตัวแปรระดับนักศึกษาสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 92
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectนักศึกษาครู
dc.subjectความฉลาดทางสังคม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subjectวิทยานิพนธ์?aปริญญาเอก
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู
dc.title.alternativeThe multi-level cusl fctors ffect the socil intelligence of students in the fculty of eductions
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: 1) to study the multi-level measurement model of social intelligence of students at the Faculty of Educations, and 2) to develop a causal model of factors those influenced social intelligence of students at the Faculty of Educations, Rajbat University. The samples used were 1,124 students who were studying in 4th year at the Faculty of Education and 74 administrators. The sampling technique was two-stage sampling. The variables were the predictors at student social intelligent level, they were: parenting, personality, emotional intelligence and anxiety; the predictors at university level included environment, university support, and social support. The dependent variable was social intelligence of students at the Faculty of Educations. The instruments were rating scales which all of them met the acceptable requirements of quality both validity and reliability. The quantitative aspects of of all variables in the model were described by using descriptive statistics. The measurement models and causative model were analyzed by Mplus program. The findings were that; 1. The proposed multi-level measurement models of social inteligence fit with the empirical data (with 2 = 2.202, df = 1, p = 0.1379, CFI = 0.999, TLI = 0.994, RMSEA = 0.033, SRMR = 0.029). The intraclass correlation were 0.014-0.103 and factor loadings of factors measuring the social intelligence ranged from 0.628 to 0.997. 2. The causative model of the social intelligence was consistent with the empirical data (2 = 682.670, df = 140, p = 0.000, 2/ df = 4.87, CFI = 0.943, TLI = 0.935, RMSEA = 0.059, SRMR = 0.046, 2/ df = 4.87). The model can be explained as follows; 2.1 For individual level, social intelligence of student at the Faculty of Educations received a positive direct influence from emotional intelligence and received a negative direct influence from anxiety with statistical significance level at .05. The highest total effect on social intelligence was emotional intelligence with the coefficient at 1.079. All individual variables can explain the variance of social intelligence at 46.3 percents. 2.2 For university level, social intelligence of student at the Faculty of Educations received a positive direct influence from environment at significance level of .05. The university environment influenced the social intelligence at the highest level with total effect equal to 0.628. All variables can explain the variance of social intelligence at 92 percents.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น