Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลการวัดพหุระดับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครูและเพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยเป็นนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวนทั้งสิ้น 1,124 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นตัวแปรตาม คือ ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ตัวแปรทำนายระดับบุคคล ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู บุคลิกภาพ ความฉลาดทางอารมณ์ และความวิตกกังวล และตัวแปรทำนาย ระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปรทั้งหมดเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และวิเคราะห์สมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดพหุระดับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู พบว่า โมเดลมีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยดัชนีที่ใช้บ่งชี้ความตรงของรูปแบบผ่านเกณฑ์ทุกรายการ ดังนี้ 2 = 2.202, df = 1, p = 0.1379, CFI = 0.999, TLI = 0.994, RMSEA = 0.033, SRMR = 0.029 โดยมีค่า ICC เท่ากับ 0.014-0.103 และมีน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.628-0.997 2. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ซึ่งเป็นการวิเคราะห์พร้อมกันทั้งระดับบุคคลและระดับมหาวิทยาลัย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของรูปแบบ ได้แก่ 2 = 682.670, df = 140, p = 0.000, 2/ df = 4.87, CFI = 0.943, TLI = 0.935, RMSEA = 0.059 และ SRMR = 0.046 โดยค่า 2/ df = 4.87 แบ่งตามระดับการทำนาย ดังนี้ 2.1 ระดับบุคคล พบว่า ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความฉลาดทางอารมณ์ และได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงลบจากความวิตกกังวลทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ 1.079 ตัวแปรระดับนักศึกษาสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 46.3 2.2 ระดับมหาวิทยาลัย พบว่า ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ตัวแปรสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลรวมสูงสุด คือ 0.628 ตัวแปรระดับนักศึกษาสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 92