กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7522
ชื่อเรื่อง: แบบแผนการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของเยาวชนไทยที่กระทำผิด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An investigtion of the pttern of emotionl buse mong thi juvenile delinquents
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสรี ชัดแช้ม
สมพร สุทัศนีย์
ภูริทัต สิงหเสม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: เยาวชน -- พฤติกรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
เยาวชน -- จิตวิทยา
อารมณ์ในวัยรุ่น
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ครอบครัวเป็นจุดกำเนิดที่สำคัญของปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของเยาวชนไทย การวิจัยนี้ศึกษาเรื่องแบบแผนการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของเยาวชนไทยที่กระทำผิดด้วยวิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ แบบทฤษฎีฐานรากตามแนวคิดของ Charmaz (2014) วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือ สร้างแบบแผนการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของเยาวชนชายก่อนเข้าในศูนย์ฝึก และอบรมเด็กและเยาวชนชาย วัตถุประสงค์รองของการวิจัย มีดังนี้ 1) สำรวจรูปแบบการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของ เยาวชนชายก่อนเข้าในศูนย์ฝึกฯ 2) ทำความเข้าใจผลกระทบจากการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ในอดีตของเยาวชนชายก่อนเข้าในศูนย์ฝึกฯ และ 3) ศึกษาวิธีการจัดการผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจในอดีตของเยาวชนชายจากการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ โดยผู้วิจัยฝังตัวเป็นนักจิตวิทยาในศูนย์ฝึกและอบรม เด็กและเยาวชนชาย ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ เยาวชนชายไทยที่กระทำผิด จำนวน 15 คน ใช้วิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูล 3 วิธี ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือน ผลการวิจัยปรากฏว่า การถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์มี 5 รูปแบบ ได้แก่ การล่วงละเมิด ด้วยวาจา การล่วงละเมิดทางร่างกาย การจำกัดสิทธิและเสรีภาพ การละเลยทอดทิ้ง และการแสดง พฤติกรรมเชิงลบ โดยการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ทำให้เกิดผลกระทบ ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงเกิดขึ้นได้ทันทีและสามารถเห็นได้ชัดเจนที่สุด แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านร่างกาย และด้านอารมณ์และความรู้สึก ส่วนผลกระทบทางอ้อมจะไม่แสดงออกกับเยาวชนแบบทันทีทันใด เยาวชนตัดสินใจเลือกวิธีการจัดการกับผลกระทบภายหลังถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ ทั้งสิ้น 10 วิธี ได้แก่ วิธีการหลีกหนีไปให้พ้น วิธีการนิ่งเฉยและนิ่งเงียบ วิธีการยินยอมโดยไม่เต็มใจ วิธีการต่อต้าน และฝ่าฝืน วิธีการประชดชีวิต วิธีการไม่เชื่อฟังและไม่ปฏิบัติ วิธีการระบายอารมณ์กับผู้อื่น วิธีการสำนึกผิดและปรับปรุงตัว วิธีการอธิบายเหตุผลและรีบแก้ปัญหา และวิธีการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเอง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7522
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น