กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7522
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสรี ชัดแช้ม | |
dc.contributor.advisor | สมพร สุทัศนีย์ | |
dc.contributor.author | ภูริทัต สิงหเสม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:02:44Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:02:44Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7522 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | ครอบครัวเป็นจุดกำเนิดที่สำคัญของปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของเยาวชนไทย การวิจัยนี้ศึกษาเรื่องแบบแผนการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของเยาวชนไทยที่กระทำผิดด้วยวิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ แบบทฤษฎีฐานรากตามแนวคิดของ Charmaz (2014) วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือ สร้างแบบแผนการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของเยาวชนชายก่อนเข้าในศูนย์ฝึก และอบรมเด็กและเยาวชนชาย วัตถุประสงค์รองของการวิจัย มีดังนี้ 1) สำรวจรูปแบบการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของ เยาวชนชายก่อนเข้าในศูนย์ฝึกฯ 2) ทำความเข้าใจผลกระทบจากการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ในอดีตของเยาวชนชายก่อนเข้าในศูนย์ฝึกฯ และ 3) ศึกษาวิธีการจัดการผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจในอดีตของเยาวชนชายจากการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ โดยผู้วิจัยฝังตัวเป็นนักจิตวิทยาในศูนย์ฝึกและอบรม เด็กและเยาวชนชาย ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ เยาวชนชายไทยที่กระทำผิด จำนวน 15 คน ใช้วิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูล 3 วิธี ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือน ผลการวิจัยปรากฏว่า การถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์มี 5 รูปแบบ ได้แก่ การล่วงละเมิด ด้วยวาจา การล่วงละเมิดทางร่างกาย การจำกัดสิทธิและเสรีภาพ การละเลยทอดทิ้ง และการแสดง พฤติกรรมเชิงลบ โดยการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ทำให้เกิดผลกระทบ ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงเกิดขึ้นได้ทันทีและสามารถเห็นได้ชัดเจนที่สุด แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านร่างกาย และด้านอารมณ์และความรู้สึก ส่วนผลกระทบทางอ้อมจะไม่แสดงออกกับเยาวชนแบบทันทีทันใด เยาวชนตัดสินใจเลือกวิธีการจัดการกับผลกระทบภายหลังถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ ทั้งสิ้น 10 วิธี ได้แก่ วิธีการหลีกหนีไปให้พ้น วิธีการนิ่งเฉยและนิ่งเงียบ วิธีการยินยอมโดยไม่เต็มใจ วิธีการต่อต้าน และฝ่าฝืน วิธีการประชดชีวิต วิธีการไม่เชื่อฟังและไม่ปฏิบัติ วิธีการระบายอารมณ์กับผู้อื่น วิธีการสำนึกผิดและปรับปรุงตัว วิธีการอธิบายเหตุผลและรีบแก้ปัญหา และวิธีการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเอง | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | เยาวชน -- พฤติกรรม | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.subject | เยาวชน -- จิตวิทยา | |
dc.subject | อารมณ์ในวัยรุ่น | |
dc.title | แบบแผนการถูกล่วงละเมิดทางอารมณ์ของเยาวชนไทยที่กระทำผิด | |
dc.title.alternative | An investigtion of the pttern of emotionl buse mong thi juvenile delinquents | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The family is the principal cause of emotional abuse for Thai male juvenile. This research concerning the pattern of emotional abuse among Thai juvenile delinquents was a qualitative investigation based on Charmaz’s grounded theory (2014). The main objective was to establish the pattern of emotional abuse among Thai male juvenile delinquents; sub-objectives were: 1) to explore the type of emotional abuse among Thai male juvenile delinquents; 2) to understand the impact of previous emotional abuse; and 3) to determine how to manage the impact of previous emotional and psychological abuse of Thai male juvenile. The researcher was a psychologist at the Juvenile Vocational Training Center for Boys. Fifteen male juvenile delinquents enrolled in the study. The process of collecting data, lasting over six months, utilized three techniques: in-depth interviews, documentary analysis, and participative observation. The results were as follows: exploration indicated that there were five types of emotional abuse: verbal abuse, physical abuse, right and freedom restriction, neglect, and expression of negative behaviors. The impact of emotional abuse occurred directly and indirectly, with direct impact displayed immediately and vividly. Direct impact could be divided into two kinds: 1) physical impacts and 2) emotion and feeling. On the other hand, the indirect impact of emotional abuse did not display immediately. The participants used ten ways to manage impacts: avoiding, acquiescence, submissive, resistance, self-destruction, disobedience, outburst of emotion, feeling guilty and self-improve, behavior modification, and fighting for self-protection. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น