กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7519
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติ (3D-MBTM) สำหรับเพิ่มความสามารถด้านสามมิติสัมพันธ์ของวัยรุ่นตอนต้น : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of three-dimensionl multiplemoving block trcking model (3D-MBTM) for enhncing sptil bility in erly dolescence: n event-relted potentil study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา กรเพชรปาณี
Ung, Poliny
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง
คลื่นไฟฟ้า -- การทดสอบ
วัยรุ่น
ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
เรขาคณิต -- การศึกษาเเละการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสติปัญญามนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล และมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล อีกทั้งยังเป็นความสามารถที่อาจพัฒนาให้ทัดเทียมกันได้ด้วยการฝึกฝน โดยเฉพาะการฝึกด้วยกิจกรรมผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติ (3D-MBTM) และศึกษาผลของการฝึกด้วยแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติที่พัฒนาขึ้น สำหรับเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของวัยรุ่นตอนต้นด้วยการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแสนสุข ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยวิธีการสุ่มกลุ่มทดลองได้รับการฝึกด้วยแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติผ่านหน้าจอทีวีวันละ 30 นาที จำนวน 12 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ Paper Folding & Form Board Test, Card Rotations Test และ Mental Rotations Test สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, Shapiro-Wilk และ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า แบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การแสดงการบ่งชี้สิ่งเป้าหมาย การเคลื่อนที่ การตอบ และการแสดงผล นอกจากนี้ผลการนำแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนมิติสัมพันธ์สูงกว่า และใช้เวลาตอบน้อยกว่า เมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง และเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ในทำนองเดียวกัน หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความสูงของศักย์ไฟฟ้าสมองที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ P300 สูงกว่า และความกว้างของศักย์ไฟฟ้าสมองที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ P300 น้อยกว่า ในสมอง ส่วนฟรอนทอล ส่วนพาไรทัล และส่วนเทมโพรัล เมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง และเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุปได้ว่า การฝึกด้วยแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของวัยรุ่นตอนต้นได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7519
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น