กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7519
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา กรเพชรปาณี | |
dc.contributor.author | Ung, Poliny | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:02:43Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:02:43Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7519 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสติปัญญามนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล และมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล อีกทั้งยังเป็นความสามารถที่อาจพัฒนาให้ทัดเทียมกันได้ด้วยการฝึกฝน โดยเฉพาะการฝึกด้วยกิจกรรมผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติ (3D-MBTM) และศึกษาผลของการฝึกด้วยแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติที่พัฒนาขึ้น สำหรับเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของวัยรุ่นตอนต้นด้วยการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแสนสุข ปีการศึกษา 2559 จำนวน 60 คน อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยวิธีการสุ่มกลุ่มทดลองได้รับการฝึกด้วยแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติผ่านหน้าจอทีวีวันละ 30 นาที จำนวน 12 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ Paper Folding & Form Board Test, Card Rotations Test และ Mental Rotations Test สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, Shapiro-Wilk และ MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า แบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การแสดงการบ่งชี้สิ่งเป้าหมาย การเคลื่อนที่ การตอบ และการแสดงผล นอกจากนี้ผลการนำแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนมิติสัมพันธ์สูงกว่า และใช้เวลาตอบน้อยกว่า เมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง และเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ในทำนองเดียวกัน หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความสูงของศักย์ไฟฟ้าสมองที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ P300 สูงกว่า และความกว้างของศักย์ไฟฟ้าสมองที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ P300 น้อยกว่า ในสมอง ส่วนฟรอนทอล ส่วนพาไรทัล และส่วนเทมโพรัล เมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง และเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุปได้ว่า การฝึกด้วยแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติอย่างต่อเนื่อง สามารถช่วยเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของวัยรุ่นตอนต้นได้ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง | |
dc.subject | คลื่นไฟฟ้า -- การทดสอบ | |
dc.subject | วัยรุ่น | |
dc.subject | ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.subject | เรขาคณิต -- การศึกษาเเละการสอน (มัธยมศึกษา) | |
dc.title | การพัฒนาแบบจำลองการติดตามหลายวัตถุทรงเหลี่ยมเคลื่อนที่แบบสามมิติ (3D-MBTM) สำหรับเพิ่มความสามารถด้านสามมิติสัมพันธ์ของวัยรุ่นตอนต้น : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ | |
dc.title.alternative | Development of three-dimensionl multiplemoving block trcking model (3D-MBTM) for enhncing sptil bility in erly dolescence: n event-relted potentil study | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Spatial ability is a component of human intelligence and an essential skill for everyday life. It can be learned by training, especially computer training, although there are some individual differences in this skill. This study aimed to develop a threedimensional multiple-moving block tracking model (3D-MBTM), and to investigate the effect of the developed 3D-MBTM training for enhancing spatial ability in the early adolescence by comparing with a control group. Sixty junior high school students in the academic year 2016 from Saensuk High School took part in the study. They were randomly assigned to experimental and control groups. The experimental group underwent the 3D-MBTM training through 3D-LED TV for 30 minutes per day over twelve days, whereas the controls did not have this experience. The paper folding and form board test, the card rotations test, and the mental rotations test were used to collect the data. Data were analyzed by t-test, Shapiro-Wilk, and MANOVA. The results showed that the 3D-MBTM was consisted of five steps, such as presentation, indexation, movement, identification, and feedback. After using the 3D-MBTM with the sample group, the results demonstrated that the accuracy scores on spatial ability test in the experimental group were significantly (p<.05) increased after training and were exceeding scores in the control group. The response time on spatial ability test in the experimental group were significantly decreased after training and were below those in the control group. Furthermore, the P300 amplitude of ERP in the experimental group significantly increased after the training, increasing more than the control group. Meanwhile, the P300 latency of ERP in the experimental group significantly decreased after training, more so than the control group in the frontal lobe, the parietal lobe, and the temporal lobe. In conclusion, continuous practice with the 3D-MBTM can enhance spatial ability in early adolescence. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น