กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7475
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ด้วยโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงและโมเดลออโตรีเกรซชีพที่มีตัวแปรแฝงพัฒนาการในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comprison nlyticl result between ltent growth curve model nd utoregressive ltent trjectory model in study fctors influencing on growth nlyticl thinking bility of mthyomsus 1 students under the secondry eductionl service re office 28 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ สมศักดิ์ ลิลา เบ็ญจพร ภิรมย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ความคิดและการคิด -- วิจัย มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และโมเดลออโตรีเกรซซีพที่มีตัวแปรแฝงพัฒนาการในการศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเพื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และโมเดลออโตรีเกรซซีพที่มี ตัวแปรแฝงพัฒนาการในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 600 คน ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 4 ฉบับ เป็นแบบทดสอบคู่ขนาน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านเหตุผล แบบวัดเจตคติต่อการเรียน และแบบสอบถามคุณภาพการสอนของครู เก็บข้อมูลซ้ำ จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์ ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และโมเดล ออโตรีเกรซซีพที่มีตัวแปรแฝงพัฒนาการด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ผลการวิเคราะห์ของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และโมเดลออโตรีเกรซซีพที่มีตัวแปรแฝงพัฒนาการในการศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม โมเดล 2 รูปแบบนี้ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 2. ผลการวิเคราะห์ของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และโมเดลออโตรีเกรซซีพที่มี ตัวแปรแฝงพัฒนาการในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกัน โดยโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์มากกว่าโมเดลออโตรีเกรซซีพที่มีตัวแปรแฝงพัฒนาการ ตัวแปรความสามารถด้านเหตุผล และเจตคติต่อการเรียน มีอิทธิพลทางตรงต่อพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรคุณภาพการสอนของครูไม่พบว่ามีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และตัวแปรในโมเดลร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนความสามารถเริ่มต้น ร้อยละ 33 และ อัตราพัฒนาการ ร้อยละ 20 |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7475 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น